แผนที่แสดงการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในลำปาง
คนหลากหลายที่ถูกลืม
เรามักจะมองกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง(หรือแม้ว) เมี่ยน(เย้า) กะเหรี่ยง อาข่า(อีก้อ) ลาหู่(มูเซอ)ฯลฯ ว่าเป็นชาวเขา ด้วยสายตาที่เหยียดหยาม ดูถูก หรืออย่างดีก็สมเพชเวทนา(ดังชื่อในวงเล็บเป็นชื่อที่คนไทยเรียก แต่ชื่อหน้าวงเล็บ เป็นชื่อที่เขาเรียกตนเอง เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าเขาก็เป็นคนที่ไม่ยอมให้ถูกเหยียดหยามเช่นเดียวกับเราๆนี่เอง) แต่ใครจะรู้เลยว่า ความรู้สึกนี้เป็นอคติที่ถูกสร้างขึ้นมา ให้มองเขาเหล่านั้นอย่างเหมารวมไปหมด ว่าเป็นพวกลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ปลูกฝิ่น ขนยาบ้า ตลอดจน คนเร่ร่อน
จะมีใครรู้บ้างไหมว่า กลุ่มชนกะเหรี่ยงนั้น เป็นชนดั้งเดิมร่วมกับชาวลัวะ[1](ซึ่งอยู่มาก่อนที่เจ้าอนันตยศมาสร้างเมืองเขลางค์นครเสียอีก) พวกเขากระจายตัวอยู่แทบจะทุกอำเภอของลำปาง บางกลุ่มชนอยู่มาก่อนจะมีชาติไทย แต่คนไทยกลับพิสูจน์ว่าพวกเขาเป็น “คน” ด้วยการให้ร้องเพลงชาติ!!(ส่วนในกรณีที่พึ่งโยกย้ายอพยพ ก็เพราะเหตุผลว่าเขาไม่มีที่ไป เขาต้องการมีชีวิตอยู่รอด และสุขสบายตามที่สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์พึงจะได้รับเช่นกัน)
บนความเชื่อของผู้เขียนที่เห็นความสำคัญของการเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เห็นว่าเรื่องสำคัญก็คือการเร่งทำความรู้จักตัวเอง และคนอื่นอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ไม่ใช่เพียงการเสแสร้งทำด้วยการจัดงานแสดงเพื่อการตลาดหรือท่องเที่ยวเท่านั้น โอกาสที่คนและคนจะได้รู้จักความเป็นคนด้วยกัน….มีโอกาสเป็นไปได้ไหม?
มาทีหลัง แต่ก็รักและผูกพันกับลำปาง
หันกลับมามองกลุ่มคนอีกกลุ่มใหญ่ ก็คือ พ่อแม่พี่น้องที่มาจากหลากหลายถิ่นที่ ดังปรากฏในสถิติการสำรวจการย้ายสัมมะโนประชากร ที่เข้ามาในลำปางช่วง พ.ศ.2531 มีจำนวน 18,577 คน และในปี พ.ศ.2536 จำนวน 12,799 คน[2](เสียดายที่ไม่สามารถหาสถิติในระยะเวลาใกล้เคียงกว่านี้ได้) บ้างก็มาในนามราชการที่ย้ายมาตามสายงาน(อย่าลืมว่า ลำปางเคยถูกคาดหวังให้เป็น ศูนย์กลางการบริหารราชการของภาคเหนือตอนบน อยู่ช่วงสั้นๆ)
บ้างก็เป็นพนักงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ บ้างก็เป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือแม้กระทั่งพ่อค้าแม่ขาย นักวิชาการ นักวิชาชีพอื่นๆ ที่ล้วนต้องการที่ทางของตนเองเช่นกัน บางคนอยู่ลำปางมาเป็นสิบๆปี บางคนอยู่มาไม่กี่ปี ล้วนอยากเป็นส่วนหนึ่งของลำปาง อยากเป็นคนลำปาง แม้จะไม่ได้มีกำเนิดอยู่ในที่แห่งนี้
ศูนย์ราชการจังหวัดลำปาง ถนนลำปาง-เด่นชัย
แต่เหตุใดยังมีอคติที่ว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนมาจากที่อื่น ไม่ใช่คนลำปาง
อะไรคือ คนลำปางกันแน่!!!
สร้างทางเดินร่วมกัน กับความลำปางที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
จนถึงหน้ากระดาษนี้ หากมองอย่างหยาบๆ จะประมวลได้ว่า ผู้คนในบ้านเมืองลำปางมีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
1) กลุ่มคนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มาเป็นเวลาเกือบ 200 ปีขึ้นไป อันได้แก่ คนเมืองและกลุ่มคนในวัฒนธรรมคนเมือง-ล้านนา ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วจังหวัดลำปาง
2) กลุ่มพลังทางเศรษฐกิจทางวัฒนธรรมที่เข้ามาเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ได้แก่ กลุ่มชนพม่า จีน อินเดีย ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ได้จำแนกให้เห็นได้ชัดในบทความที่ผ่านมา
3) กลุ่มพลังทางเศรษฐกิจ-การเมือง-ระบบราชการ ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาทีหลังในช่วง 50 กว่าปีที่ผ่านมา แต่มีบทบาทกำหนดกรอบคิด และนโยบายเกี่ยวกับบ้านเมืองในปัจจุบันอย่างสูง เช่น ระบบราชการจากส่วนกลาง-ภูมิภาค,กฟผ.แม่เมาะ,บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย,บริษัท ปตท. เป็นต้น
กับกลุ่มสุดท้ายคือ 4) กลุ่มชนกลุ่มน้อย ชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งถูกเบียดขับออกจากความเป็นลำปางมากที่สุด
โรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ลำปางในทุกวันนี้จึงมิได้มีเฉพาะคนเมือง วัฒนธรรมล้านนาที่ดูดี มีระดับและขายได้เท่านั้น เรายังมีพี่น้องผองเพื่อนอีกมากมาย รอให้รู้จัก เข้าใจ และยอมรับอีก แน่นอนว่า การรู้จักและเข้าใจกันเองนี้ยังเป็นภารกิจเบื้องต้นที่ต้องลุล่วงให้ได้
การฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง จึงมิใช่การรู้จักเพื่อไปท่องจำ หรือสำหรับเป็นความรู้รอบตัวเฉยๆ แต่เป็นความตั้งใจที่จะจุดประกายความอยากรู้ อยากเห็นเรื่องบ้านเมือง เช่นเดียวกับที่ผู้เขียนอยากรู้ อยากเห็น แต่ทำได้ด้วยสติปัญญาอันจำกัด สิ่งที่สร้างสรรค์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
จากฐานของสังคมที่ไร้รากและไร้ซึ่งความรู้ การถกเถียงแลกเปลี่ยนทางปัญญา ชุมนุมของผู้รู้ ผู้มีความสามารถ การแลกเปลี่ยนเผยแพร่สู่สาธารณชนจำเป็นต้องสถาปนาให้เกิดขึ้นให้ได้ มิใช่เพื่อเกียรติยศ หรือหน้าตาของใครบางคนเท่านั้น แต่การกระทำเหล่านั้นจะเป็นการสร้างคนขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นภูมิต้านทานความไม่รู้ อำนาจมืดที่ครอบงำ ปิดบังทางออกของบ้านเมืองอยู่เรื่อยมา.
บรรณานุกรม
1. ศักดิ์ รัตนชัย.”เมืองนคร-เมืองลำปาง” ใน ของดีนครลำปาง.2512.
2. ขนิษฐา ปานคง.การเปลี่ยนแปลงสภาพย่านตลาดหลักของเมืองกับการพัฒนานครลำปาง วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2543.
เชิงอรรถ
[1] ศักดิ์ รัตนชัย.”เมืองนคร-เมืองลำปาง” ใน ของดีนครลำปาง.2512,หน้า 29
[2] ขนิษฐา ปานคง.การเปลี่ยนแปลงสภาพย่านตลาดหลักของเมืองกับการพัฒนานครลำปาง วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2543,หน้า 233-234
เรามักจะมองกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง(หรือแม้ว) เมี่ยน(เย้า) กะเหรี่ยง อาข่า(อีก้อ) ลาหู่(มูเซอ)ฯลฯ ว่าเป็นชาวเขา ด้วยสายตาที่เหยียดหยาม ดูถูก หรืออย่างดีก็สมเพชเวทนา(ดังชื่อในวงเล็บเป็นชื่อที่คนไทยเรียก แต่ชื่อหน้าวงเล็บ เป็นชื่อที่เขาเรียกตนเอง เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าเขาก็เป็นคนที่ไม่ยอมให้ถูกเหยียดหยามเช่นเดียวกับเราๆนี่เอง) แต่ใครจะรู้เลยว่า ความรู้สึกนี้เป็นอคติที่ถูกสร้างขึ้นมา ให้มองเขาเหล่านั้นอย่างเหมารวมไปหมด ว่าเป็นพวกลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ปลูกฝิ่น ขนยาบ้า ตลอดจน คนเร่ร่อน
จะมีใครรู้บ้างไหมว่า กลุ่มชนกะเหรี่ยงนั้น เป็นชนดั้งเดิมร่วมกับชาวลัวะ[1](ซึ่งอยู่มาก่อนที่เจ้าอนันตยศมาสร้างเมืองเขลางค์นครเสียอีก) พวกเขากระจายตัวอยู่แทบจะทุกอำเภอของลำปาง บางกลุ่มชนอยู่มาก่อนจะมีชาติไทย แต่คนไทยกลับพิสูจน์ว่าพวกเขาเป็น “คน” ด้วยการให้ร้องเพลงชาติ!!(ส่วนในกรณีที่พึ่งโยกย้ายอพยพ ก็เพราะเหตุผลว่าเขาไม่มีที่ไป เขาต้องการมีชีวิตอยู่รอด และสุขสบายตามที่สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์พึงจะได้รับเช่นกัน)
บนความเชื่อของผู้เขียนที่เห็นความสำคัญของการเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เห็นว่าเรื่องสำคัญก็คือการเร่งทำความรู้จักตัวเอง และคนอื่นอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ไม่ใช่เพียงการเสแสร้งทำด้วยการจัดงานแสดงเพื่อการตลาดหรือท่องเที่ยวเท่านั้น โอกาสที่คนและคนจะได้รู้จักความเป็นคนด้วยกัน….มีโอกาสเป็นไปได้ไหม?
มาทีหลัง แต่ก็รักและผูกพันกับลำปาง
หันกลับมามองกลุ่มคนอีกกลุ่มใหญ่ ก็คือ พ่อแม่พี่น้องที่มาจากหลากหลายถิ่นที่ ดังปรากฏในสถิติการสำรวจการย้ายสัมมะโนประชากร ที่เข้ามาในลำปางช่วง พ.ศ.2531 มีจำนวน 18,577 คน และในปี พ.ศ.2536 จำนวน 12,799 คน[2](เสียดายที่ไม่สามารถหาสถิติในระยะเวลาใกล้เคียงกว่านี้ได้) บ้างก็มาในนามราชการที่ย้ายมาตามสายงาน(อย่าลืมว่า ลำปางเคยถูกคาดหวังให้เป็น ศูนย์กลางการบริหารราชการของภาคเหนือตอนบน อยู่ช่วงสั้นๆ)
บ้างก็เป็นพนักงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ บ้างก็เป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือแม้กระทั่งพ่อค้าแม่ขาย นักวิชาการ นักวิชาชีพอื่นๆ ที่ล้วนต้องการที่ทางของตนเองเช่นกัน บางคนอยู่ลำปางมาเป็นสิบๆปี บางคนอยู่มาไม่กี่ปี ล้วนอยากเป็นส่วนหนึ่งของลำปาง อยากเป็นคนลำปาง แม้จะไม่ได้มีกำเนิดอยู่ในที่แห่งนี้
ศูนย์ราชการจังหวัดลำปาง ถนนลำปาง-เด่นชัย
แต่เหตุใดยังมีอคติที่ว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนมาจากที่อื่น ไม่ใช่คนลำปาง
อะไรคือ คนลำปางกันแน่!!!
สร้างทางเดินร่วมกัน กับความลำปางที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
จนถึงหน้ากระดาษนี้ หากมองอย่างหยาบๆ จะประมวลได้ว่า ผู้คนในบ้านเมืองลำปางมีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
1) กลุ่มคนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มาเป็นเวลาเกือบ 200 ปีขึ้นไป อันได้แก่ คนเมืองและกลุ่มคนในวัฒนธรรมคนเมือง-ล้านนา ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วจังหวัดลำปาง
2) กลุ่มพลังทางเศรษฐกิจทางวัฒนธรรมที่เข้ามาเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ได้แก่ กลุ่มชนพม่า จีน อินเดีย ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ได้จำแนกให้เห็นได้ชัดในบทความที่ผ่านมา
3) กลุ่มพลังทางเศรษฐกิจ-การเมือง-ระบบราชการ ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาทีหลังในช่วง 50 กว่าปีที่ผ่านมา แต่มีบทบาทกำหนดกรอบคิด และนโยบายเกี่ยวกับบ้านเมืองในปัจจุบันอย่างสูง เช่น ระบบราชการจากส่วนกลาง-ภูมิภาค,กฟผ.แม่เมาะ,บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย,บริษัท ปตท. เป็นต้น
กับกลุ่มสุดท้ายคือ 4) กลุ่มชนกลุ่มน้อย ชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งถูกเบียดขับออกจากความเป็นลำปางมากที่สุด
โรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ลำปางในทุกวันนี้จึงมิได้มีเฉพาะคนเมือง วัฒนธรรมล้านนาที่ดูดี มีระดับและขายได้เท่านั้น เรายังมีพี่น้องผองเพื่อนอีกมากมาย รอให้รู้จัก เข้าใจ และยอมรับอีก แน่นอนว่า การรู้จักและเข้าใจกันเองนี้ยังเป็นภารกิจเบื้องต้นที่ต้องลุล่วงให้ได้
การฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง จึงมิใช่การรู้จักเพื่อไปท่องจำ หรือสำหรับเป็นความรู้รอบตัวเฉยๆ แต่เป็นความตั้งใจที่จะจุดประกายความอยากรู้ อยากเห็นเรื่องบ้านเมือง เช่นเดียวกับที่ผู้เขียนอยากรู้ อยากเห็น แต่ทำได้ด้วยสติปัญญาอันจำกัด สิ่งที่สร้างสรรค์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
จากฐานของสังคมที่ไร้รากและไร้ซึ่งความรู้ การถกเถียงแลกเปลี่ยนทางปัญญา ชุมนุมของผู้รู้ ผู้มีความสามารถ การแลกเปลี่ยนเผยแพร่สู่สาธารณชนจำเป็นต้องสถาปนาให้เกิดขึ้นให้ได้ มิใช่เพื่อเกียรติยศ หรือหน้าตาของใครบางคนเท่านั้น แต่การกระทำเหล่านั้นจะเป็นการสร้างคนขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นภูมิต้านทานความไม่รู้ อำนาจมืดที่ครอบงำ ปิดบังทางออกของบ้านเมืองอยู่เรื่อยมา.
บรรณานุกรม
1. ศักดิ์ รัตนชัย.”เมืองนคร-เมืองลำปาง” ใน ของดีนครลำปาง.2512.
2. ขนิษฐา ปานคง.การเปลี่ยนแปลงสภาพย่านตลาดหลักของเมืองกับการพัฒนานครลำปาง วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2543.
เชิงอรรถ
[1] ศักดิ์ รัตนชัย.”เมืองนคร-เมืองลำปาง” ใน ของดีนครลำปาง.2512,หน้า 29
[2] ขนิษฐา ปานคง.การเปลี่ยนแปลงสภาพย่านตลาดหลักของเมืองกับการพัฒนานครลำปาง วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2543,หน้า 233-234