แผนที่ประเทศอินเดีย
เมื่อเทียบสัดส่วนกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆในลำปางแล้ว ชาวอินเดียอาจนับได้ว่า มีจำนวนน้อยที่สุด แต่กลับมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างสูง
แม้จากการสัมภาษณ์จะไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า คนอินเดียเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในลำปางตั้งแต่เมื่อใด แต่มีการระบุว่า เคยมีชาวอินเดียอาศัยอยู่บริเวณกาดกองต้าในช่วงราวปลายคริสตวรรษที่ 19(ราวพ.ศ.2343-2442)[1]
อย่างไรก็ตาม ประเทศอินเดียถือเป็นดินแดนที่แสนกว้างใหญ่ เป็นอนุทวีปทีเดียว ซึ่งภายในประกอบด้วยรัฐต่างๆ เหตุการณ์สำคัญที่กระทบกับการตัดสินใจอพยพของชาวอินเดีย ก็คือ ปัญหาการเมืองภายในอินเดีย ช่วงอาณานิคมอังกฤษปกครอง ตั้งแต่สิ้นราชวงศ์โมกุล สมัยจักรพรรดิบาดูห์ ชาห์ที่2 ในพ.ศ.2400 อังกฤษได้ใช้วิธีคิดการแบ่งแยกและปกครอง (divide and rule) ให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆแตกแยกกันเอง เช่น ชาวฮินดู และชาวมุสลิม ซึ่งแต่ก่อนมาเคยอยู่ร่วมกันในดินแดนเดียวกัน
แม้ประเทศอินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2490 ก็ตาม แต่ในปีเดียวกัน ก็เกิดความขัดแย้งในระหว่างพรรคคองเกรสและพรรคสันนิบาตมุสลิม จนต้องการขอแยกประเทศไปเป็นประเทศปากีสถานตะวันตก และตะวันออก(คือ ประเทศบังกลาเทศนั่นเอง) ความสัมพันธ์อันตึงเครียดกลับเลวร้ายลงเมื่อเกิดสงครามระหว่างกันในปัญหารัฐกัศมีร์ หรือแคชเมียร์(Kashmire)
ความวุ่นวายและปัญหาดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยตัดสินใจที่ทำให้ชาวอินเดียอพยพมาทำการตั้งถิ่นฐานอยู่ประเทศไทยก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในลำปางนั้น อาจจำแนกเป็นชาวอินเดียซิกข์ และชาวอินเดียฮินดู
ชาวอินเดียซิกข์
มีการกล่าวถึงประวัติวัดซิกข์ลำปางที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 เพื่อให้เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรม และที่พักสำหรับนักเดินทางชาวอินเดีย โดยนายห้างวารียาม ซิงห์ ซึ่งได้สร้างถวาย พร้อมที่ดินส่วนตัว ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่งซีเมนต์ ครึ่งไม้ ในพิธีการทางศาสนา ในวันเปิดนั้นได้มีชาวอินเดียเดินทางมาจากเชียงใหม่มาทางรถไฟมาร่วมเป็นจำนวนมาก
วัดซิกข์หลัง เก่า ถนนบุญวาทย์
[ที่มา : คุณสันติ จาวะลา]
ชาวอินเดียซิกข์ นั้นเดินทางมาจากรัฐปัญจาบ ทางตอนเหนือของอินเดีย ด้วยปัจจัยทางการเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีของนายห้างวารียาม ซิงห์ ได้เดินทางมาสยาม ช่วง พ.ศ.2452 ทำการค้า โดยการเปิดร้านขายผ้าชื่อ วีระไทย[2]
เมื่อเทียบสัดส่วนกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆในลำปางแล้ว ชาวอินเดียอาจนับได้ว่า มีจำนวนน้อยที่สุด แต่กลับมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างสูง
แม้จากการสัมภาษณ์จะไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า คนอินเดียเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในลำปางตั้งแต่เมื่อใด แต่มีการระบุว่า เคยมีชาวอินเดียอาศัยอยู่บริเวณกาดกองต้าในช่วงราวปลายคริสตวรรษที่ 19(ราวพ.ศ.2343-2442)[1]
อย่างไรก็ตาม ประเทศอินเดียถือเป็นดินแดนที่แสนกว้างใหญ่ เป็นอนุทวีปทีเดียว ซึ่งภายในประกอบด้วยรัฐต่างๆ เหตุการณ์สำคัญที่กระทบกับการตัดสินใจอพยพของชาวอินเดีย ก็คือ ปัญหาการเมืองภายในอินเดีย ช่วงอาณานิคมอังกฤษปกครอง ตั้งแต่สิ้นราชวงศ์โมกุล สมัยจักรพรรดิบาดูห์ ชาห์ที่2 ในพ.ศ.2400 อังกฤษได้ใช้วิธีคิดการแบ่งแยกและปกครอง (divide and rule) ให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆแตกแยกกันเอง เช่น ชาวฮินดู และชาวมุสลิม ซึ่งแต่ก่อนมาเคยอยู่ร่วมกันในดินแดนเดียวกัน
แม้ประเทศอินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2490 ก็ตาม แต่ในปีเดียวกัน ก็เกิดความขัดแย้งในระหว่างพรรคคองเกรสและพรรคสันนิบาตมุสลิม จนต้องการขอแยกประเทศไปเป็นประเทศปากีสถานตะวันตก และตะวันออก(คือ ประเทศบังกลาเทศนั่นเอง) ความสัมพันธ์อันตึงเครียดกลับเลวร้ายลงเมื่อเกิดสงครามระหว่างกันในปัญหารัฐกัศมีร์ หรือแคชเมียร์(Kashmire)
ความวุ่นวายและปัญหาดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยตัดสินใจที่ทำให้ชาวอินเดียอพยพมาทำการตั้งถิ่นฐานอยู่ประเทศไทยก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในลำปางนั้น อาจจำแนกเป็นชาวอินเดียซิกข์ และชาวอินเดียฮินดู
ชาวอินเดียซิกข์
มีการกล่าวถึงประวัติวัดซิกข์ลำปางที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 เพื่อให้เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรม และที่พักสำหรับนักเดินทางชาวอินเดีย โดยนายห้างวารียาม ซิงห์ ซึ่งได้สร้างถวาย พร้อมที่ดินส่วนตัว ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่งซีเมนต์ ครึ่งไม้ ในพิธีการทางศาสนา ในวันเปิดนั้นได้มีชาวอินเดียเดินทางมาจากเชียงใหม่มาทางรถไฟมาร่วมเป็นจำนวนมาก
วัดซิกข์หลัง เก่า ถนนบุญวาทย์
[ที่มา : คุณสันติ จาวะลา]
ชาวอินเดียซิกข์ นั้นเดินทางมาจากรัฐปัญจาบ ทางตอนเหนือของอินเดีย ด้วยปัจจัยทางการเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีของนายห้างวารียาม ซิงห์ ได้เดินทางมาสยาม ช่วง พ.ศ.2452 ทำการค้า โดยการเปิดร้านขายผ้าชื่อ วีระไทย[2]
[ที่มา : คุณโมฮัน โซนี่และครอบครัว]
ส่วนร้านยากัตซิงห์นั้น ก่อตั้งเมื่อพ.ศ.2478 โดยการเช่าตึกของแม่นาค บุปผาเจริญ ถ.ทิพย์ช้าง โดย นายยากัตซิงห์ จาวะลา ที่เดิมย้ายจากอินเดียมาอยู่ที่นครราชสีมา และมามีครอบครัวที่ลำปาง โดยที่พ่อตาเป็นชาวอินเดีย แม่ยายคือ แม่ตุ่นแก้ว มีเชื้อสายทางเจ้าฝ่ายเหนือ ทำการค้าขายส่งผ้าไปที่ต่างๆ ทั้งพะเยา เชียงราย แม่สาย ขณะเดียวกันก็หากำไรจากการสะสมทุนจากการรับแลกเปลี่ยนเงินรูปี(ในกลุ่มพ่อค้าเมืองลำปาง และกลุ่มที่จะใช้เงินรูปีไปซื้อฝิ่นจากยูนนาน)[3]
ชาวอินเดียซิกข์ดูจะกระตือรือร้นที่จะแสดงออกความเป็นตัวของตัวเอง ทั้งในสำนึกเรื่องการพบปะ ช่วยเหลือกันผ่านทาง วัดซิกข์(ซึ่งรวมไปถึงการพบปะกับชาวฮินดูอินเดียด้วย) หรือการแต่งกายตามธรรมเนียมชาวซิกข์ หรือภาษาพูดก็นิยมใช้ภาษาปัญจาบี อันเนื่องมาจากรัฐปัญจาบที่ได้ทำการอพยพมา
ส่วนที่สำคัญอีกอย่างก็คือ กฎ 5 ประการของชาวซิกข์ อันได้แก่
1) เกศา หมายถึง ให้ชาวซิกข์ไว้ผมยาวโดยไม่ต้องตัด
2) กังฆะ หมายถึง ให้พกหวีติดตัว
3) กิรปาน หมายถึง ดาบ
4) กัจฉะ หมายถึง กางเกงขาสั้นชั้นใน
5) กรา หมายถึง กำไลเหล็ก
วัดซิกข์หลังปัจจุบัน ถนนบุญวาทย์
ส่วนร้านยากัตซิงห์นั้น ก่อตั้งเมื่อพ.ศ.2478 โดยการเช่าตึกของแม่นาค บุปผาเจริญ ถ.ทิพย์ช้าง โดย นายยากัตซิงห์ จาวะลา ที่เดิมย้ายจากอินเดียมาอยู่ที่นครราชสีมา และมามีครอบครัวที่ลำปาง โดยที่พ่อตาเป็นชาวอินเดีย แม่ยายคือ แม่ตุ่นแก้ว มีเชื้อสายทางเจ้าฝ่ายเหนือ ทำการค้าขายส่งผ้าไปที่ต่างๆ ทั้งพะเยา เชียงราย แม่สาย ขณะเดียวกันก็หากำไรจากการสะสมทุนจากการรับแลกเปลี่ยนเงินรูปี(ในกลุ่มพ่อค้าเมืองลำปาง และกลุ่มที่จะใช้เงินรูปีไปซื้อฝิ่นจากยูนนาน)[3]
ชาวอินเดียซิกข์ดูจะกระตือรือร้นที่จะแสดงออกความเป็นตัวของตัวเอง ทั้งในสำนึกเรื่องการพบปะ ช่วยเหลือกันผ่านทาง วัดซิกข์(ซึ่งรวมไปถึงการพบปะกับชาวฮินดูอินเดียด้วย) หรือการแต่งกายตามธรรมเนียมชาวซิกข์ หรือภาษาพูดก็นิยมใช้ภาษาปัญจาบี อันเนื่องมาจากรัฐปัญจาบที่ได้ทำการอพยพมา
ส่วนที่สำคัญอีกอย่างก็คือ กฎ 5 ประการของชาวซิกข์ อันได้แก่
1) เกศา หมายถึง ให้ชาวซิกข์ไว้ผมยาวโดยไม่ต้องตัด
2) กังฆะ หมายถึง ให้พกหวีติดตัว
3) กิรปาน หมายถึง ดาบ
4) กัจฉะ หมายถึง กางเกงขาสั้นชั้นใน
5) กรา หมายถึง กำไลเหล็ก
วัดซิกข์หลังปัจจุบัน ถนนบุญวาทย์
ปีพ.ศ.2538 ก็ได้มีการก่อสร้างวัดซิกข์ลำปางใหม่บนพื้นที่เดิม
*เรียบเรียงจาก
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์,ชาวอินเดียลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์.2548.
อ้างอิงจาก
มาร์โก วี.พาเทล.”ประวัติและพัฒนาการของการค้าขายในลำปาง” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์.2544,หน้า 21
เชิงอรรถ
[1]มาร์โก วี.พาเทล.”ประวัติและพัฒนาการของการค้าขายในลำปาง” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์.2544,หน้า 21
[2] เอกสารอัดสำเนา ประวัติและที่กำเนิดของวัดซิกข์ จังหวัดลำปาง ไม่ทราบปีที่พิมพ์ โดย คุณสันติ จาวะลา
[3] สัมภาษณ์ คุณสันติ จาวะลา 12 พฤษภาคม 2548
*เรียบเรียงจาก
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์,ชาวอินเดียลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์.2548.
อ้างอิงจาก
มาร์โก วี.พาเทล.”ประวัติและพัฒนาการของการค้าขายในลำปาง” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์.2544,หน้า 21
เชิงอรรถ
[1]มาร์โก วี.พาเทล.”ประวัติและพัฒนาการของการค้าขายในลำปาง” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์.2544,หน้า 21
[2] เอกสารอัดสำเนา ประวัติและที่กำเนิดของวัดซิกข์ จังหวัดลำปาง ไม่ทราบปีที่พิมพ์ โดย คุณสันติ จาวะลา
[3] สัมภาษณ์ คุณสันติ จาวะลา 12 พฤษภาคม 2548
No comments:
Post a Comment