ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน(พ.ศ.2373-2454)
[ที่มา : คุณอนิรุทธิ์ อินทิมา]
ศาสนาคริสต์บนแผ่นดินนครลำปาง[1]
จวบจนกระทั่งพ.ศ.2421 ตามบันทึกของมิชชันนารีที่เชียงใหม่ กล่าวไว้ว่า มีชายสูงวัยท่าทางภูมิฐานคนหนึ่งเข้าไปหา ที่เชียงใหม่ และกล่าวทักทายตามภาษาที่มีในพระคัมภีร์ไบเบิล ชายคนนั้นก็คือ พญาสีหนาท ชายคนนี้มีตำแหน่งในสูงในเค้าสนามเมืองลำปาง กล่าวกันว่าเคยติดตามเจ้าหลวงลงไปกรุงเทพฯ และได้รับพระคัมภีร์ไบเบิลจากหมอบรัดเลย์! ในที่สุดท่านก็ได้รับเชื่อคริสต์ศาสนารับศีลบัพติศมาเป็นคริสเตียน
สาเหตุอาจเนื่องมาจากความขัดแย้งกับเค้าสนาม ราชสำนักลำปาง ประกอบกับความสนใจเป็นทุนเดิม อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจดังกล่าวทำให้ท่านสูญเสียยศฐาบรรดาศักดิ์และหน้าที่การงานที่เคยมีทั้งหมด (อย่างไรก็ดีนับว่ายังโชคดีกว่าเชียงใหม่ ที่ผู้รับเชื่อหลายท่านถูกประหารชีวิต เนื่องจาก ได้ส่งผลต่อระบบความคิดความเชื่อ และสะเทือนมาถึงอำนาจของเจ้าชีวิต ที่เคยมีเหนือไพร่ของตน ซึ่งไพร่ที่รับเชื่อ บังอาจขัดขืนคำสั่งเกณฑ์แรงงานในวันอาทิตย์ ตามหลักปฏิบัติคำสอนของคริสตศาสนา)
เพียง 2 ปีต่อมา เมื่อพ.ศ.2423 พญาสีหนาทก็สามารถจัดตั้ง คริสตจักรขึ้น ณ เมืองนครลำปางได้สำเร็จ โดยมีพญาสีหนาทเป็นผู้นำคริสตจักร
ที่น่าสนใจก็คือ การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสยามที่ผ่านมาทาง กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ประจำเชียงใหม่ เนื่องในการจัดตั้งศูนย์มิชชั่น ซึ่งได้รับมอบที่ดินสำหรับตั้งบ้านพัก สำนักงาน รวมทั้งทุนทรัพย์จำนวน 2,000 รูปี ในการจัดตั้งโรงพยาบาลแบบตะวันตก เมื่อพ.ศ.2428
การเมือง การคานอำนาจระหว่างกันของประเทศตะวันตก
วิถีชีวิตของคริสตชนที่แปลกไปจากเดิม น่าจะส่งผลความขัดแย้งในประเพณีปฏิบัติในจารีตดั้งเดิม ดังที่ปรากฏว่า มิชชันนารีได้ร้องเรียนไปยังราชสำนักกรุงเทพฯ ในเรื่อง เหตุการณ์ขัดแย้งการแต่งงานตามประเพณีคริสต์และประเพณีดั้งเดิม จึงสันนิษฐานได้ว่า พระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 5 เรื่อง เสรีภาพทางศาสนา(Edict of the toleration)[2] ซึ่งน่าจะเป็นการหนุน การนับถือศาสนาพระเยซูเจ้า มากกว่าสิ่งใด
ที่น่าสนใจก็คือว่า ไฉนรัฐบาลสยามจึงดูเอาใจ ชาวคริสต์เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่การมอบที่ดิน ทรัพย์ และการคุ้มครองทางกฏหมายในการนับถือศาสนา อาจเป็นเนื่องเพราะช่วงนั้นประเทศตะวันตกทั้งหลายเข้ามามีอำนาจเหนือดินแดนต่างๆไม่ว่าจะเป็นมหาอำนาจเก่าอย่างจีน อินเดีย หรือแม้แต่เพื่อนบ้านอย่างพม่า เวียดนาม เขมร ลาว ฉะนั้นนโยบายสำคัญก็คือ การสนับสนุนกิจการของชาวตะวันตก(เพื่อไม่ให้ถูกกล่าวหาว่า ล้าหลัง ป่าเถื่อน ซึ่งมักเป็นข้ออ้างในการยึดดินแดน) และการสร้างเงื่อนไขการคานอำนาจกันเองของประเทศตะวันตก
แผนที่เมืองนครลำปาง แสดงการกระจายตัวของผู้คน : ฝั่งตะวันตกอันเป็นที่อยู่ของชาวอเมริกัน ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นที่อยู่ของชาวอังกฤษ
หากจะมองในทางกายภาพ และการตั้งถิ่นฐานจะพบ 2 ชุมชนสำคัญได้แก่ ชุมชนชาวอเมริกัน ในนามของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนา ณ คริสจักรที่1(โบสถ์คริสต์ข้างโรงเรียนวิชชานารี) การศึกษา และการแพทย์ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของถนนรัษฎา ซึ่งอีกฟากฝั่งคือ แหล่งชุมชนชาวอังกฤษ อันมีศูนย์กลางอยู่ที่ สถานกงสุลอังกฤษ อยู่บริเวณ กองบังคับการตำรวจภูธร จ.ลำปาง ในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งยืนอยู่บนผลประโยชน์ การค้าไม้สัก ทั้งในหัวเมืองเหนือ ต่อเนื่องไปยังพม่า ดังนั้นทางฝั่งตะวันออกของถนนรัษฎา ยังปรากฏ อาคารสำนักงาน ของบริษัทค้าไม้อังกฤษ แม้กระทั่งอาคารบ้านเรือน
ก่อรูป-บ่มเพาะ
เดิมนั้นเมื่อสถานีมิชชั่นได้มาเปิดทำการ มีครอบครัวนายแพทย์ซามูเอล และนางซาราห์ พีเพิลส์ เป็นมิชชันนารีครอบครัวแรก ใช้บ้านพญาสีหนาท เป็นที่ทำการ แต่ภารกิจของนายแพทย์ซามูเอล ต้องใช้เวลาในการรักษาผู้ป่วยจึงไม่มีเวลามากนักในการ ภายหลัง ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน ย้ายมาทำงาน ณ เมืองนครลำปาง ในตำแหน่งศิษยาภิบาล ของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง เมื่อพ.ศ.2431[3] พร้อมกับหลานสาวคือ มิสแคทรีน ฟลีสัน
ท่านและหลานสาวได้เปิดชั้นเรียนในวันอาทิตย์ที่จะสอนภาษาพื้นเมือง โดยมี หนานพรหม ชาวแจ้ห่มเป็นผู้ช่วย นักร้องเพลงสวด ท่านยังเป็นผู้แปลเพลงสวด(เพลงนมัสการพระเจ้า หรือ Hymnal)จากภาษาอังกฤษเป็นคำเมืองกว่า 500 เพลงซึ่งบทเพลงดังกล่าวได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2438 และ พ.ศ.2448[4] ซึ่งเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของท่าน
นอกจากนั้นศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน ยังเป็นผู้ริเริ่มสร้างโบสถ์ฟลีสันเมโมเรียล ร่วมกับพ่อครูเทเลอร์ (ศาสนาจารย์ ฮิวจ์ เทเลอร์) ที่เริ่มสร้างในปีพ.ศ.2452 มาแล้วเสร็จเอาเมื่อปีพ.ศ.2469[5] อย่างไรก็ตามศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน ที่ใช้เวลาเผยแพร่ศาสนาในลำปางเป็นเวลากว่า 23 ปี ก็ไม่สามารถอยู่ถึงวันที่โบสถ์เสร็จ ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อพ.ศ.2454 อายุได้ 81 ปี[6]
โบสถ์ฟลีสันแมโมเรียล ข้างโรงเรียนวิชชานารี สร้างเมื่อพ.ศ.2452
[ที่มา : คุณอนิรุทธิ์ อินทิมา]
มีการอ้างว่า ชุมชนคริสเตียนลำปางแม้เป็นเพียงคนกลุ่มน้อย ที่รวมกันแล้วไม่ถึง 2 พันคน เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กลับพบว่า หลายท่านได้มีบทบาทในนามนักการเมืองท้องถิ่น(ซึ่งไม่ปรากฏความสำคัญดังกล่าวในจังหวัดอื่นๆ) ได้แก่ ศจ.ดวงดี ทิพย์มาบุตร อาจารย์วิริยะ พูลวิริยะ นายแพทย์สมคิด มานะรัตน์ ซึ่งเป็นถึงเทศมนตรีเมืองลำปาง หรือบางท่านที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาเทศบาล(สท.) ได้แก่ นายแพทย์รัศมี สุทธิคำ นายปุ่น ปั้นแหน่งเพ็ชร นายวิเชียร อินทิมา และผป.ผัน ศรีสุระ[7]
*เรียบเรียงจาก
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์,ชาวคริสต์ลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์.2548.
อ้างอิงจาก
1. ประสิทธิ์ พงศ์อุดม.”คริสต์ศาสนากับการมีส่วนร่วมในพัฒนาการทางสังคมของลำปาง : ศึกษาบทบาทมิชชันนารีอเมริกันระหว่าง ค.ศ.1880-1940(พ.ศ.2423-2483)” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.จิตวัฒนาการพิมพ์ : ลำปาง,2544.
2. พิษณุ อรรฆภิญญ์.”สง่างามเมืองลคร” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง, 2543.
3. อนิรุทธิ์ อินทิมา.”โบสถ์ฟลีสันแมมโมเรียล” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง, 2543.
4. อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ประวัติความเป็นมาของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง,2543.
5. อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน : ศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรละกอน” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง,2543.
เชิงอรรถ
[1] ประสิทธิ์ พงศ์อุดม.”คริสต์ศาสนากับการมีส่วนร่วมในพัฒนาการทางสังคมของลำปาง : ศึกษาบทบาทมิชชันนารีอเมริกันระหว่าง ค.ศ.1880-1940(พ.ศ.2423-2483)” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.จิตวัฒนาการพิมพ์ : ลำปาง,2544,หน้า 66-68
[2] อ้างแล้ว หน้า 68
[3] อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ประวัติความเป็นมาของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง,2543,หน้า 26
[4] อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน : ศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรละกอน” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง,2543,หน้า 33-34
[5] อนิรุทธิ์ อินทิมา.”โบสถ์ฟลีสันแมมโมเรียล” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง, 2543,หน้า 31
[6] อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน : ศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรละกอน” อ้างแล้ว หน้า 34
[7] พิษณุ อรรฆภิญญ์.”สง่างามเมืองลคร” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง, 2543,หน้า 22
จวบจนกระทั่งพ.ศ.2421 ตามบันทึกของมิชชันนารีที่เชียงใหม่ กล่าวไว้ว่า มีชายสูงวัยท่าทางภูมิฐานคนหนึ่งเข้าไปหา ที่เชียงใหม่ และกล่าวทักทายตามภาษาที่มีในพระคัมภีร์ไบเบิล ชายคนนั้นก็คือ พญาสีหนาท ชายคนนี้มีตำแหน่งในสูงในเค้าสนามเมืองลำปาง กล่าวกันว่าเคยติดตามเจ้าหลวงลงไปกรุงเทพฯ และได้รับพระคัมภีร์ไบเบิลจากหมอบรัดเลย์! ในที่สุดท่านก็ได้รับเชื่อคริสต์ศาสนารับศีลบัพติศมาเป็นคริสเตียน
สาเหตุอาจเนื่องมาจากความขัดแย้งกับเค้าสนาม ราชสำนักลำปาง ประกอบกับความสนใจเป็นทุนเดิม อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจดังกล่าวทำให้ท่านสูญเสียยศฐาบรรดาศักดิ์และหน้าที่การงานที่เคยมีทั้งหมด (อย่างไรก็ดีนับว่ายังโชคดีกว่าเชียงใหม่ ที่ผู้รับเชื่อหลายท่านถูกประหารชีวิต เนื่องจาก ได้ส่งผลต่อระบบความคิดความเชื่อ และสะเทือนมาถึงอำนาจของเจ้าชีวิต ที่เคยมีเหนือไพร่ของตน ซึ่งไพร่ที่รับเชื่อ บังอาจขัดขืนคำสั่งเกณฑ์แรงงานในวันอาทิตย์ ตามหลักปฏิบัติคำสอนของคริสตศาสนา)
เพียง 2 ปีต่อมา เมื่อพ.ศ.2423 พญาสีหนาทก็สามารถจัดตั้ง คริสตจักรขึ้น ณ เมืองนครลำปางได้สำเร็จ โดยมีพญาสีหนาทเป็นผู้นำคริสตจักร
ที่น่าสนใจก็คือ การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสยามที่ผ่านมาทาง กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ประจำเชียงใหม่ เนื่องในการจัดตั้งศูนย์มิชชั่น ซึ่งได้รับมอบที่ดินสำหรับตั้งบ้านพัก สำนักงาน รวมทั้งทุนทรัพย์จำนวน 2,000 รูปี ในการจัดตั้งโรงพยาบาลแบบตะวันตก เมื่อพ.ศ.2428
การเมือง การคานอำนาจระหว่างกันของประเทศตะวันตก
วิถีชีวิตของคริสตชนที่แปลกไปจากเดิม น่าจะส่งผลความขัดแย้งในประเพณีปฏิบัติในจารีตดั้งเดิม ดังที่ปรากฏว่า มิชชันนารีได้ร้องเรียนไปยังราชสำนักกรุงเทพฯ ในเรื่อง เหตุการณ์ขัดแย้งการแต่งงานตามประเพณีคริสต์และประเพณีดั้งเดิม จึงสันนิษฐานได้ว่า พระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 5 เรื่อง เสรีภาพทางศาสนา(Edict of the toleration)[2] ซึ่งน่าจะเป็นการหนุน การนับถือศาสนาพระเยซูเจ้า มากกว่าสิ่งใด
ที่น่าสนใจก็คือว่า ไฉนรัฐบาลสยามจึงดูเอาใจ ชาวคริสต์เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่การมอบที่ดิน ทรัพย์ และการคุ้มครองทางกฏหมายในการนับถือศาสนา อาจเป็นเนื่องเพราะช่วงนั้นประเทศตะวันตกทั้งหลายเข้ามามีอำนาจเหนือดินแดนต่างๆไม่ว่าจะเป็นมหาอำนาจเก่าอย่างจีน อินเดีย หรือแม้แต่เพื่อนบ้านอย่างพม่า เวียดนาม เขมร ลาว ฉะนั้นนโยบายสำคัญก็คือ การสนับสนุนกิจการของชาวตะวันตก(เพื่อไม่ให้ถูกกล่าวหาว่า ล้าหลัง ป่าเถื่อน ซึ่งมักเป็นข้ออ้างในการยึดดินแดน) และการสร้างเงื่อนไขการคานอำนาจกันเองของประเทศตะวันตก
แผนที่เมืองนครลำปาง แสดงการกระจายตัวของผู้คน : ฝั่งตะวันตกอันเป็นที่อยู่ของชาวอเมริกัน ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นที่อยู่ของชาวอังกฤษ
หากจะมองในทางกายภาพ และการตั้งถิ่นฐานจะพบ 2 ชุมชนสำคัญได้แก่ ชุมชนชาวอเมริกัน ในนามของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนา ณ คริสจักรที่1(โบสถ์คริสต์ข้างโรงเรียนวิชชานารี) การศึกษา และการแพทย์ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของถนนรัษฎา ซึ่งอีกฟากฝั่งคือ แหล่งชุมชนชาวอังกฤษ อันมีศูนย์กลางอยู่ที่ สถานกงสุลอังกฤษ อยู่บริเวณ กองบังคับการตำรวจภูธร จ.ลำปาง ในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งยืนอยู่บนผลประโยชน์ การค้าไม้สัก ทั้งในหัวเมืองเหนือ ต่อเนื่องไปยังพม่า ดังนั้นทางฝั่งตะวันออกของถนนรัษฎา ยังปรากฏ อาคารสำนักงาน ของบริษัทค้าไม้อังกฤษ แม้กระทั่งอาคารบ้านเรือน
ก่อรูป-บ่มเพาะ
เดิมนั้นเมื่อสถานีมิชชั่นได้มาเปิดทำการ มีครอบครัวนายแพทย์ซามูเอล และนางซาราห์ พีเพิลส์ เป็นมิชชันนารีครอบครัวแรก ใช้บ้านพญาสีหนาท เป็นที่ทำการ แต่ภารกิจของนายแพทย์ซามูเอล ต้องใช้เวลาในการรักษาผู้ป่วยจึงไม่มีเวลามากนักในการ ภายหลัง ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน ย้ายมาทำงาน ณ เมืองนครลำปาง ในตำแหน่งศิษยาภิบาล ของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง เมื่อพ.ศ.2431[3] พร้อมกับหลานสาวคือ มิสแคทรีน ฟลีสัน
ท่านและหลานสาวได้เปิดชั้นเรียนในวันอาทิตย์ที่จะสอนภาษาพื้นเมือง โดยมี หนานพรหม ชาวแจ้ห่มเป็นผู้ช่วย นักร้องเพลงสวด ท่านยังเป็นผู้แปลเพลงสวด(เพลงนมัสการพระเจ้า หรือ Hymnal)จากภาษาอังกฤษเป็นคำเมืองกว่า 500 เพลงซึ่งบทเพลงดังกล่าวได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2438 และ พ.ศ.2448[4] ซึ่งเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของท่าน
นอกจากนั้นศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน ยังเป็นผู้ริเริ่มสร้างโบสถ์ฟลีสันเมโมเรียล ร่วมกับพ่อครูเทเลอร์ (ศาสนาจารย์ ฮิวจ์ เทเลอร์) ที่เริ่มสร้างในปีพ.ศ.2452 มาแล้วเสร็จเอาเมื่อปีพ.ศ.2469[5] อย่างไรก็ตามศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน ที่ใช้เวลาเผยแพร่ศาสนาในลำปางเป็นเวลากว่า 23 ปี ก็ไม่สามารถอยู่ถึงวันที่โบสถ์เสร็จ ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อพ.ศ.2454 อายุได้ 81 ปี[6]
โบสถ์ฟลีสันแมโมเรียล ข้างโรงเรียนวิชชานารี สร้างเมื่อพ.ศ.2452
[ที่มา : คุณอนิรุทธิ์ อินทิมา]
มีการอ้างว่า ชุมชนคริสเตียนลำปางแม้เป็นเพียงคนกลุ่มน้อย ที่รวมกันแล้วไม่ถึง 2 พันคน เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กลับพบว่า หลายท่านได้มีบทบาทในนามนักการเมืองท้องถิ่น(ซึ่งไม่ปรากฏความสำคัญดังกล่าวในจังหวัดอื่นๆ) ได้แก่ ศจ.ดวงดี ทิพย์มาบุตร อาจารย์วิริยะ พูลวิริยะ นายแพทย์สมคิด มานะรัตน์ ซึ่งเป็นถึงเทศมนตรีเมืองลำปาง หรือบางท่านที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาเทศบาล(สท.) ได้แก่ นายแพทย์รัศมี สุทธิคำ นายปุ่น ปั้นแหน่งเพ็ชร นายวิเชียร อินทิมา และผป.ผัน ศรีสุระ[7]
*เรียบเรียงจาก
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์,ชาวคริสต์ลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์.2548.
อ้างอิงจาก
1. ประสิทธิ์ พงศ์อุดม.”คริสต์ศาสนากับการมีส่วนร่วมในพัฒนาการทางสังคมของลำปาง : ศึกษาบทบาทมิชชันนารีอเมริกันระหว่าง ค.ศ.1880-1940(พ.ศ.2423-2483)” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.จิตวัฒนาการพิมพ์ : ลำปาง,2544.
2. พิษณุ อรรฆภิญญ์.”สง่างามเมืองลคร” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง, 2543.
3. อนิรุทธิ์ อินทิมา.”โบสถ์ฟลีสันแมมโมเรียล” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง, 2543.
4. อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ประวัติความเป็นมาของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง,2543.
5. อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน : ศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรละกอน” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง,2543.
เชิงอรรถ
[1] ประสิทธิ์ พงศ์อุดม.”คริสต์ศาสนากับการมีส่วนร่วมในพัฒนาการทางสังคมของลำปาง : ศึกษาบทบาทมิชชันนารีอเมริกันระหว่าง ค.ศ.1880-1940(พ.ศ.2423-2483)” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.จิตวัฒนาการพิมพ์ : ลำปาง,2544,หน้า 66-68
[2] อ้างแล้ว หน้า 68
[3] อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ประวัติความเป็นมาของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง,2543,หน้า 26
[4] อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน : ศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรละกอน” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง,2543,หน้า 33-34
[5] อนิรุทธิ์ อินทิมา.”โบสถ์ฟลีสันแมมโมเรียล” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง, 2543,หน้า 31
[6] อนิรุทธิ์ อินทิมา.”ศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน : ศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรละกอน” อ้างแล้ว หน้า 34
[7] พิษณุ อรรฆภิญญ์.”สง่างามเมืองลคร” ใน คริสตจักรที่ 1ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า.2543.จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง : ลำปาง, 2543,หน้า 22
No comments:
Post a Comment