ภาพจากหนังสือฮู้คิง...ฮู้คนลำปางฯ (2548)
ความรู้ความเข้าใจท้องถิ่น ในสังคมปัจจุบันนั้นถูกละเลยไปพร้อมกับการก้าวยาว ๆ เพื่อจะกวดให้ทันอนาคต ซึ่งในที่สุดก็ลืมทั้งรากเหง้ากำพืด และยังตามโลกสมัยก็ไม่ทันอีกต่างหาก เมื่อมองมาที่ท้องถิ่นลำปาง ก็ยิ่งเห็นได้ชัดถึงวาทกรรม คำรำพึงของผู้คนถึงอนาคตที่มืดมนของบ้านเมือง หรือไม่ก็การฟูมฟายหาอดีตอย่างปราศจากการตรึกตรองและใคร่ครวญ ดังที่เราได้เปรียบบ้านเราครั้งบ้านเมืองยังดี กับจังหวัดเพื่อนบ้านอยู่เนือง ๆ แท้จริงแล้วความหลัง อดีต ความเป็นมาของลำปางก็มีคนศึกษาอยู่จำนวนไม่น้อย แต่เสียดายที่สิ่งเหล่านั้นมิได้ปรากฏเป็น ของหน้าหมู่ ความรู้สาธารณะที่ต้องรู้และเข้าใจตัวตนของตัวเองเสียก่อน ในมิติต่าง ๆ
ฮู้คิง...ฮู้คน (ฮู้คิงโดยความหมายคือ การรู้จักรากเหง้า กำพืด ความเป็นตัวเอง) ก็เป็นความพยายามหนึ่ง ที่จะชวนกันรู้ความหลากหลายของตัวตนคนลำปาง ที่ไม่ได้มีแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดด ๆ แต่ยังสัมพันธ์กันด้วยปัจจัยต่าง ๆทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันในกฎระเบียบต่าง ๆ บ้างก็ได้เรียงร้อยเป็นเครือญาติ บ้างก็คบกันฉันท์มิตร บ้างก็ผิดใจกันเป็นธรรมชาติของสังคม ฉะนั้นคนลำปางไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ ฅ ฅนที่มีด้านแบน ๆ อย่างเดียวแต่ยังมีความหลากหลาย ความซับซ้อนที่งดงามอยู่ด้วย
จุดมุ่งหมายสำคัญของบทความนี้ก็คือ การรวบรวมเรื่องราวผู้คนในลำปาง ให้เห็นเป็นหมวดหมู่ และหลากหลายอย่างเข้าใจง่าย เป็นหลักสำคัญซึ่งอาจจะมีข้อบกพร่องอยู่ โดยเฉพาะการพิจาณาหลักฐานชั้นต้น ชั้นรองในการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
เอกสารนี้ยังหวังอย่างยิ่งที่จะสร้างบรรยากาศการเปิดวงพูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องของสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การอยู่ร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวามากขึ้น และหวังอย่างยิ่งที่จะได้มีโอกาสร่วมกันพัฒนาความรู้สาธารณะให้แพร่หลายและกระจายออกไป จึงถือว่าเอกสารนี้เป็นฐานในการจะรู้ และเป็นประตู หน้าต่างบานเล็ก ๆ ที่จะชักชวนให้สังคมสาธารณะลำปางเห็นโอกาส และลงมือทำกันอย่างคึกคัก กระนั้นเอง เพียงเอกสาร และตัวหนังสืออาจจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ยังมีพลังไม่มากพอ จำต้องอาศัยความหลากหลายที่จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสายพูดคุยในรายการวิทยุ สภากาแฟใกล้บ้าน หน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ที่จะเปิดโอกาสให้ได้สาธารณะได้เชื่อมโยงความคิด และจิตใจเข้าหากัน
ความผิดพลาดใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น ทางผู้จัดทำขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว
*บทความนี้ ปรับปรุงจาก ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, บรรณาธิการ. ฮู้คิง...ฮู้คนลำปาง เอกสารเพื่อการรู้จักตัวเอง พี่น้องผองเพื่อนชาวลำปาง, ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์, 2548. โดยการสนับสนุนจาก โครงการสืบค้นประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น : กรณีลำปาง
ความรู้ความเข้าใจท้องถิ่น ในสังคมปัจจุบันนั้นถูกละเลยไปพร้อมกับการก้าวยาว ๆ เพื่อจะกวดให้ทันอนาคต ซึ่งในที่สุดก็ลืมทั้งรากเหง้ากำพืด และยังตามโลกสมัยก็ไม่ทันอีกต่างหาก เมื่อมองมาที่ท้องถิ่นลำปาง ก็ยิ่งเห็นได้ชัดถึงวาทกรรม คำรำพึงของผู้คนถึงอนาคตที่มืดมนของบ้านเมือง หรือไม่ก็การฟูมฟายหาอดีตอย่างปราศจากการตรึกตรองและใคร่ครวญ ดังที่เราได้เปรียบบ้านเราครั้งบ้านเมืองยังดี กับจังหวัดเพื่อนบ้านอยู่เนือง ๆ แท้จริงแล้วความหลัง อดีต ความเป็นมาของลำปางก็มีคนศึกษาอยู่จำนวนไม่น้อย แต่เสียดายที่สิ่งเหล่านั้นมิได้ปรากฏเป็น ของหน้าหมู่ ความรู้สาธารณะที่ต้องรู้และเข้าใจตัวตนของตัวเองเสียก่อน ในมิติต่าง ๆ
ฮู้คิง...ฮู้คน (ฮู้คิงโดยความหมายคือ การรู้จักรากเหง้า กำพืด ความเป็นตัวเอง) ก็เป็นความพยายามหนึ่ง ที่จะชวนกันรู้ความหลากหลายของตัวตนคนลำปาง ที่ไม่ได้มีแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดด ๆ แต่ยังสัมพันธ์กันด้วยปัจจัยต่าง ๆทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันในกฎระเบียบต่าง ๆ บ้างก็ได้เรียงร้อยเป็นเครือญาติ บ้างก็คบกันฉันท์มิตร บ้างก็ผิดใจกันเป็นธรรมชาติของสังคม ฉะนั้นคนลำปางไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ ฅ ฅนที่มีด้านแบน ๆ อย่างเดียวแต่ยังมีความหลากหลาย ความซับซ้อนที่งดงามอยู่ด้วย
จุดมุ่งหมายสำคัญของบทความนี้ก็คือ การรวบรวมเรื่องราวผู้คนในลำปาง ให้เห็นเป็นหมวดหมู่ และหลากหลายอย่างเข้าใจง่าย เป็นหลักสำคัญซึ่งอาจจะมีข้อบกพร่องอยู่ โดยเฉพาะการพิจาณาหลักฐานชั้นต้น ชั้นรองในการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
เอกสารนี้ยังหวังอย่างยิ่งที่จะสร้างบรรยากาศการเปิดวงพูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องของสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การอยู่ร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวามากขึ้น และหวังอย่างยิ่งที่จะได้มีโอกาสร่วมกันพัฒนาความรู้สาธารณะให้แพร่หลายและกระจายออกไป จึงถือว่าเอกสารนี้เป็นฐานในการจะรู้ และเป็นประตู หน้าต่างบานเล็ก ๆ ที่จะชักชวนให้สังคมสาธารณะลำปางเห็นโอกาส และลงมือทำกันอย่างคึกคัก กระนั้นเอง เพียงเอกสาร และตัวหนังสืออาจจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ยังมีพลังไม่มากพอ จำต้องอาศัยความหลากหลายที่จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสายพูดคุยในรายการวิทยุ สภากาแฟใกล้บ้าน หน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ที่จะเปิดโอกาสให้ได้สาธารณะได้เชื่อมโยงความคิด และจิตใจเข้าหากัน
ความผิดพลาดใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น ทางผู้จัดทำขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว
*บทความนี้ ปรับปรุงจาก ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, บรรณาธิการ. ฮู้คิง...ฮู้คนลำปาง เอกสารเพื่อการรู้จักตัวเอง พี่น้องผองเพื่อนชาวลำปาง, ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์, 2548. โดยการสนับสนุนจาก โครงการสืบค้นประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น : กรณีลำปาง
No comments:
Post a Comment