บ้านบอมเบย์ บริเวณตีนสะพานพัฒนาภาคเหนือ
กลุ่มชนพม่า คือ ผู้คนหลากหลายที่มาจากเมืองพม่า
จากการกล่าวถึงการเข้ามาของกลุ่มชนพม่าเมื่อตอนที่แล้ว เราต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า กลุ่มชนพม่าที่ได้เข้ามาทำไม้นั้น ไม่ใช่มีแต่ชาติพันธุ์พม่า(หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า ม่าน)อย่างเดียว ยังรวมถึงไทใหญ่(ที่เราเรียกว่า เงี้ยว ปัจจุบันเลี่ยงไปใช้คำว่า ไทใหญ่ หรือไต แทน) มอญ ตองสู้ (แม้ว่าในการทำไม้จะมีแรงงานสำคัญคือ กลุ่มชาวกำมุ(หรือขมุ) ที่มาจากลาว จะไม่ขอกล่าวในที่นี้) แต่ที่ปรากฏบทบาทชัดเจน(เท่าที่มีหลักฐานในปัจจุบัน) ก็คือ ชาวพม่า และไทใหญ่ ซึ่งจะส่งผลต่อการปะทะสังสรรค์แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างสำคัญ
ระบบเงินรูปีจากพม่า
บทบาทสำคัญของบริษัททำไม้ ที่เข้ามาทำมาหากินในลำปางมีอยู่ทั้งสิ้น 4 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท บริติชบอร์เนียว จำกัด ( British Borneo Ltd. )
2. บริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัด ( Bombay Burma Trading coporation )
3. บริษัท สยามฟอร์เรสต์ จำกัด ( Siam Forest )
4. บริษัท แอล.ที.เลียวโนเวนส์ จำกัด ( L.T.Leonowens Ltd. )[1]
ซึ่งกลุ่มชนพม่าล้วนมีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างสูงมาก่อนชาวจีน ดังปรากฏได้จากการเป็นเจ้าของห้องแถวไม้สักริมแม่น้ำย่านกาดกองต้า(ตลาดจีน หรือถนนตลาดเก่าปัจจุบัน) กลุ่มชนพม่ายังนำเอาระบบเงินรูปีที่เป็นระบบเงินตราในประเทศอาณานิคม เช่น อินเดีย พม่า[2]
คติการสร้างวัด
ด้วยฐานะทางเศรษฐกิจและบทบาททางสังคมที่เพิ่มขึ้น(โดยเฉพาะการที่ได้เลื่อนสถานะจากหัวหน้างานมาเป็นผู้รับเหมาช่วงในการทำไม้ต่อจากนายฝรั่ง) จึงเกิดการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยการปฏิสังขรณ์วัดเดิมในท้องถิ่น ได้แก่ วัดศรีชุมที่สร้างจากวัดท้องถิ่นเดิม รวมไปถึงการบูรณะให้เป็นรูปแบบพม่า เช่น เจดีย์พระธาตุม่อนพระยาแช่ เป็นต้น และสร้างศาสนสถานใหม่ขึ้น เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสัมพันธ์ในกลุ่มของตน ซึ่งสร้างตามแบบแผนทางศิลปกรรมทั้งหมด โดยช่างชาวพม่า ไทใหญ่ ในการก่อสร้างแต่ละครั้งจะมีการขออนุญาตเจ้าเมืองลำปาง และบอกบุญไปยังเจ้านายบุตรหลานและคนพื้นเมืองด้วย[3]
วัดศรีชุม ศิลปสถาปัตยกรรมรูปแบบพม่า
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ]
รูปแบบเมื่อดูกันเผินๆแล้วจะมีความต่างจาก วัดพื้นเมืองอย่างชัดเจน แต่ใครจะทราบว่าในรูปแบบที่ต่างนั้นยังพบอีก 2 รูปแบบย่อยคือ ศิลปกรรมรูปแบบพม่าและรูปแบบไทใหญ่ ที่ต่างกันคือ หลังคาวิหารในรูปแบบพม่าจะเป็นหลังคาแบบยอดปราสาท นักวิชาการทั่วไปเรียกกันว่า หลังคาทรงพระยาธาตุ(ชาญคณิต อาวรณ์ และอ.มงคล ถูกนึก เสนอให้เรียกว่า ปราสาท ตามลักษณะศิลปะและรูปคำ) เช่น วิหารวัดศรีชุม ขณะที่รูปแบบไทใหญ่คือ หลังคาวิหารซ้อนชั้น อย่างที่วัดศรีรองเมือง เป็นต้น
จากการศึกษาของชาญคณิต อาวรณ์[4] สามารถแบ่งกลุ่มชนพม่า ที่เป็นผู้ดูแลและอุปถัมภ์ศาสนสถานประจำกลุ่มชาติพันธุ์ เป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1. กลุ่มชาติพันธุ์ ตองสู้ ได้แก่ วัดป่ารวก วัดม่อนปู่ยักษ์ สร้างราว พ.ศ.2442 โดยพ่อเฒ่านันตาน้อย พ่อเฒ่านันตาไก่[5] วัดศรีรองเมือง สร้างราว พ.ศ.2447(เจ้าศรัทธาคือ จองตะก่าวารินต๊ะ แม่จองตะก่าจันทร์แก้ว จองตะก่าส่างโต แม่จองตะก่าจันทร์ฟอง)
2. กลุ่มชาติพันธุ์ พม่า ได้แก่ วัดป่าฝาง สร้างพ.ศ.2450(วัดประจำตระกูลสุวรรณอัตถ์) วัดจองคา วัดศรีชุม สร้างราว พ.ศ.2436(เจ้าศรัทธา คือ จองตะก่าอูโย พ่อเลี้ยงหม่องยี และแม่เลี้ยงป้อม ตระกูลบูรณ์) ยังแบ่งย่อยเป็น พม่า-มอญ คือ วัดท่ามะโอ
3. กลุ่มชาติพันธุ์ ไทใหญ่ ได้แก่ วัดจองคำ และวัดม่อนจำศีล
ยังรวมถึงตระกูลอื่นๆอีกเช่น มณีนันท์ รัตนคำมล เป็นต้น
ป่าขาม ย่านวัดพม่า[6]
เป็นที่น่าสนใจว่าเหตุใดบริเวณป่าขามจึงมีวัดพม่ากระจายอยู่มากที่สุด มีการเล่าว่า บริเวณรอบๆวัดม่อนปู่ยักษ์นี้ เดิมเป็นป่าไม้จะมีพืชล้มลุกจำนวนมาก ในฤดูแล้งจะมีพืชยืนต้นคือ ต้นมะขามเท่านั้น ด้วยความมีต้นมะขามจึงเรียกว่า ป่าขาม พ่อค้าในสมัยนั้นจึงพากันอพยพมาตั้งรกรากเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อใช้ป่าเป็นที่เลี้ยงช้าง ทั้งฝักมะขามกก็เป็นอาหารของช้าง เช่นเดียวกับมะขามเปียกใช้เป็นยากรักษาอาการป่วยของช้างได้ บริเวรณดังกล่าว มีถึง 4 วัด ได้แก่ วัดม่อนปู่ยักษ์(วัดม่อนสัณฐาน) วัดม่อนจำศีล วัดจองคำ และวัดร่มโพธิ์งาม(วัดป่าขาม) หรือไกลออกไปหน่อยคือ วัดพระบาท
จากการกล่าวถึงการเข้ามาของกลุ่มชนพม่าเมื่อตอนที่แล้ว เราต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า กลุ่มชนพม่าที่ได้เข้ามาทำไม้นั้น ไม่ใช่มีแต่ชาติพันธุ์พม่า(หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า ม่าน)อย่างเดียว ยังรวมถึงไทใหญ่(ที่เราเรียกว่า เงี้ยว ปัจจุบันเลี่ยงไปใช้คำว่า ไทใหญ่ หรือไต แทน) มอญ ตองสู้ (แม้ว่าในการทำไม้จะมีแรงงานสำคัญคือ กลุ่มชาวกำมุ(หรือขมุ) ที่มาจากลาว จะไม่ขอกล่าวในที่นี้) แต่ที่ปรากฏบทบาทชัดเจน(เท่าที่มีหลักฐานในปัจจุบัน) ก็คือ ชาวพม่า และไทใหญ่ ซึ่งจะส่งผลต่อการปะทะสังสรรค์แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างสำคัญ
ระบบเงินรูปีจากพม่า
บทบาทสำคัญของบริษัททำไม้ ที่เข้ามาทำมาหากินในลำปางมีอยู่ทั้งสิ้น 4 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท บริติชบอร์เนียว จำกัด ( British Borneo Ltd. )
2. บริษัท บอมเบย์เบอร์มา จำกัด ( Bombay Burma Trading coporation )
3. บริษัท สยามฟอร์เรสต์ จำกัด ( Siam Forest )
4. บริษัท แอล.ที.เลียวโนเวนส์ จำกัด ( L.T.Leonowens Ltd. )[1]
ซึ่งกลุ่มชนพม่าล้วนมีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างสูงมาก่อนชาวจีน ดังปรากฏได้จากการเป็นเจ้าของห้องแถวไม้สักริมแม่น้ำย่านกาดกองต้า(ตลาดจีน หรือถนนตลาดเก่าปัจจุบัน) กลุ่มชนพม่ายังนำเอาระบบเงินรูปีที่เป็นระบบเงินตราในประเทศอาณานิคม เช่น อินเดีย พม่า[2]
คติการสร้างวัด
ด้วยฐานะทางเศรษฐกิจและบทบาททางสังคมที่เพิ่มขึ้น(โดยเฉพาะการที่ได้เลื่อนสถานะจากหัวหน้างานมาเป็นผู้รับเหมาช่วงในการทำไม้ต่อจากนายฝรั่ง) จึงเกิดการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยการปฏิสังขรณ์วัดเดิมในท้องถิ่น ได้แก่ วัดศรีชุมที่สร้างจากวัดท้องถิ่นเดิม รวมไปถึงการบูรณะให้เป็นรูปแบบพม่า เช่น เจดีย์พระธาตุม่อนพระยาแช่ เป็นต้น และสร้างศาสนสถานใหม่ขึ้น เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสัมพันธ์ในกลุ่มของตน ซึ่งสร้างตามแบบแผนทางศิลปกรรมทั้งหมด โดยช่างชาวพม่า ไทใหญ่ ในการก่อสร้างแต่ละครั้งจะมีการขออนุญาตเจ้าเมืองลำปาง และบอกบุญไปยังเจ้านายบุตรหลานและคนพื้นเมืองด้วย[3]
วัดศรีชุม ศิลปสถาปัตยกรรมรูปแบบพม่า
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ]
รูปแบบเมื่อดูกันเผินๆแล้วจะมีความต่างจาก วัดพื้นเมืองอย่างชัดเจน แต่ใครจะทราบว่าในรูปแบบที่ต่างนั้นยังพบอีก 2 รูปแบบย่อยคือ ศิลปกรรมรูปแบบพม่าและรูปแบบไทใหญ่ ที่ต่างกันคือ หลังคาวิหารในรูปแบบพม่าจะเป็นหลังคาแบบยอดปราสาท นักวิชาการทั่วไปเรียกกันว่า หลังคาทรงพระยาธาตุ(ชาญคณิต อาวรณ์ และอ.มงคล ถูกนึก เสนอให้เรียกว่า ปราสาท ตามลักษณะศิลปะและรูปคำ) เช่น วิหารวัดศรีชุม ขณะที่รูปแบบไทใหญ่คือ หลังคาวิหารซ้อนชั้น อย่างที่วัดศรีรองเมือง เป็นต้น
จากการศึกษาของชาญคณิต อาวรณ์[4] สามารถแบ่งกลุ่มชนพม่า ที่เป็นผู้ดูแลและอุปถัมภ์ศาสนสถานประจำกลุ่มชาติพันธุ์ เป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1. กลุ่มชาติพันธุ์ ตองสู้ ได้แก่ วัดป่ารวก วัดม่อนปู่ยักษ์ สร้างราว พ.ศ.2442 โดยพ่อเฒ่านันตาน้อย พ่อเฒ่านันตาไก่[5] วัดศรีรองเมือง สร้างราว พ.ศ.2447(เจ้าศรัทธาคือ จองตะก่าวารินต๊ะ แม่จองตะก่าจันทร์แก้ว จองตะก่าส่างโต แม่จองตะก่าจันทร์ฟอง)
2. กลุ่มชาติพันธุ์ พม่า ได้แก่ วัดป่าฝาง สร้างพ.ศ.2450(วัดประจำตระกูลสุวรรณอัตถ์) วัดจองคา วัดศรีชุม สร้างราว พ.ศ.2436(เจ้าศรัทธา คือ จองตะก่าอูโย พ่อเลี้ยงหม่องยี และแม่เลี้ยงป้อม ตระกูลบูรณ์) ยังแบ่งย่อยเป็น พม่า-มอญ คือ วัดท่ามะโอ
3. กลุ่มชาติพันธุ์ ไทใหญ่ ได้แก่ วัดจองคำ และวัดม่อนจำศีล
ยังรวมถึงตระกูลอื่นๆอีกเช่น มณีนันท์ รัตนคำมล เป็นต้น
ป่าขาม ย่านวัดพม่า[6]
เป็นที่น่าสนใจว่าเหตุใดบริเวณป่าขามจึงมีวัดพม่ากระจายอยู่มากที่สุด มีการเล่าว่า บริเวณรอบๆวัดม่อนปู่ยักษ์นี้ เดิมเป็นป่าไม้จะมีพืชล้มลุกจำนวนมาก ในฤดูแล้งจะมีพืชยืนต้นคือ ต้นมะขามเท่านั้น ด้วยความมีต้นมะขามจึงเรียกว่า ป่าขาม พ่อค้าในสมัยนั้นจึงพากันอพยพมาตั้งรกรากเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อใช้ป่าเป็นที่เลี้ยงช้าง ทั้งฝักมะขามกก็เป็นอาหารของช้าง เช่นเดียวกับมะขามเปียกใช้เป็นยากรักษาอาการป่วยของช้างได้ บริเวรณดังกล่าว มีถึง 4 วัด ได้แก่ วัดม่อนปู่ยักษ์(วัดม่อนสัณฐาน) วัดม่อนจำศีล วัดจองคำ และวัดร่มโพธิ์งาม(วัดป่าขาม) หรือไกลออกไปหน่อยคือ วัดพระบาท
วัดศรีรองเมือง ศิลปสถาปัตยกรรมรูปแบบไทใหญ่
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ]
วิถีชีวิตที่ถูกกลืนหาย
แม้จะปรากฏบันทึก ตระกูลต่างๆที่สืบเนื่องมาในสมัยการค้าไม้รุ่งเรือง เช่น ตระกูลจันทรวิโรจน์, บริบูรณ์, มณีนันท์ ฯลฯ แต่วิถีชีวิต ความเป็นอยู่กลับถูกกลืนหายไปในนามคนลำปางไปแล้ว อาจปรากฏในรูปแบบอาหาร เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวกั้นจิ๊น(ข้าวเงี้ยว) จากไทใหญ่ น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล จากพม่า ที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ผ่านการคัดสรร-แลกเปลี่ยนมาแล้ว.
*เรียบเรียงจาก
กิตติคุณ ศิริญานันท์,ชาวพม่าลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์.2548.
อ้างอิงจาก
1. ชมัยโฉม สุนทรสวัสดิ์.การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับป่าไม้ในภาคเหนือของประเทศไทย วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2522.
2. ชาญคณิต อาวรณ์.ลวดลายประดับศาสนสถานแบบพม่าในเมืองลำปาง รายงานการศึกษา คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2546.
3. สุรชัย จงจิตงาม.การศึกษารูปแบบศิลปกรรมจิตรกรรมฝาผนัง วัดม่อนปู่ยักษ์ จ.ลำปาง รายงานการศึกษา ภาควิชาศิลปไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2540.
เชิงอรรถ
[1] ชาญคณิต อาวรณ์.ลวดลายประดับศาสนสถานแบบพม่าในเมืองลำปาง รายงานการศึกษา คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2546,หน้า 32 อ้างใน ชมัยโฉม สุนทรสวัสดิ์.การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับป่าไม้ในภาคเหนือของประเทศไทย วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2522,หน้า 7
[2] อ้างแล้ว หน้า 37
[3] อ้างแล้ว หน้า 32
[4] อ้างแล้ว หน้า 40
[5] สุรชัย จงจิตงาม.การศึกษารูปแบบศิลปกรรมจิตรกรรมฝาผนัง วัดม่อนปู่ยักษ์ จ.ลำปาง รายงานการศึกษา ภาควิชาศิลปไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2540,หน้า 33
[6] อ้างแล้ว หน้า 35
No comments:
Post a Comment