แผนที่แสดง ดินแดนรอบล้านนา
[ที่มา : สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา,2544 หน้า 24]
ภาพลักษณ์กับการรับรู้ของคนลำปางกับชาวไทลื้อนั้น มีอยู่จำกัด ที่รู้จักกันก็เป็นเพียงผิวเผินเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นแรงงานลื้อบ้านกล้วย งานพระธาตุวัดม่วงคำ หรืองานล่องสะเปาชาวไทลื้อ กลุ่มผู้คนดังกล่าวรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง ทั้งยังกระตือรือร้นที่จะสะท้อนตัวตนออกมาสู่สาธารณะ ออกมาสู่โลกภายนอก ซึ่งไม่เฉพาะในลำปางเท่านั้น กรณีที่เห็นได้ชัดก็คือ การจัดงานสืบสานตำนานไทลื้อโลก ที่อ.เชียงคำ จ.พะเยาในวันที่ 12-13 พฤศจิกายน พ.ศ.2548[1] ที่ผ่านมา จากประเทศต่างๆเช่น จีน ลาว เวียดนาม มาพบปะแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างสัมพันธ์และ อนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวไทลื้อ รวมทั้งเป็นการใช้วัฒนธรรมนำหน้างานด้านเศรษฐกิจ ของประเทศ[2]
ถิ่นฐานเดิมไทลื้อ
ในความเป็นจริงก่อนที่จะมีการแบ่งเขตแดนเป็นรัฐชาติตายตัว ซึ่งพึ่งกำหนดขึ้นใน100 กว่าปีมานี้เอง อาณาเขตบ้านเมืองเมื่อก่อนไม่ได้รวมศูนย์ แต่กลับร่วมกันอยู่อย่างหลวมๆ ย้ายศูนย์อำนาจไปเรื่อยๆ แล้วแต่ว่าบ้านเมืองในเข้มแข็งและแผ่อำนาจไปถึง ซึ่งล้วนเป็นเหล่าเครือญาติในภูมิภาคอุษาคเนย์ หรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถนับพื้นที่ร่วมกันตั้งแต่ตอนใต้ของจีนจนถึงคาบสมุทร และเหล่าหมู่เกาะอันดามัน อินโดนีเซีย ติมอร์ และบูรไนเสียด้วยซ้ำ[3]
การแต่งกายผู้หญิงชาวไทลื้อ
กลุ่มวัฒนธรรมไทลื้ออยู่บริเวณสิบสองปันนา ปัจจุบันอยู่ในเขตยูนนานประเทศจีน เป็นเมืองในหุบเขา และมี แม่น้ำโขง(ลื้อเรียกแม่น้ำของ น่าจะเหมือนลาวเรียก)ไหลผ่าน มีศูนย์กลางอยู่เมืองเชียงรุ่ง สมัยก่อนมีประมุขคือ พระเจ้าแผ่นดินในชื่อที่เราคุ้นเคย ซึ่งเรียกกันว่า เจ้าฟ้าแสนหวี[4]
ปัจจุบันชาวไทลื้อกระจายตัวอยู่ในดินแดนต่างๆดังนี้ สิบสองปันนา ในประเทศจีน,เมืองยอง ในประเทศพม่า,แคว้นพงสาลี ในประเทศลาว,เมืองบินห์ลู ในประเทศเวียดนาม
สายสัมพันธ์ ลื้อ-ยอง
คำว่า ชาวไทลื้อ กับชาวยอง ก็เป็นอีกเรื่องที่ควรจะทำความเข้าใจกัน จากการค้นคว้าเบื้องต้นพบว่า ชาวยอง มาจากชื่อ เมืองยอง ที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตประเทศพม่า และเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนล้านนา(ราวพุทธศตวรรษที่19)[5] ซึ่งในการสร้างบ้านแปงเมืองนั้นเป็นผลการขยายตัวจากเมืองเชียงรุ่ง และเมืองยองก็ได้รับวัฒนธรรมไทลื้อแบบเชียงรุ่งไปใช้ ถือเป็นความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่เมืองน้อง[6] ฉะนั้นชาวยอง จะเป็นคำจำกัดความที่แน่ชัดว่า เป็นคนที่มาจากเมืองยอง ส่วนชาวไทลื้อนั้นมิได้ระบุชัดเจน(แม้ว่าในกรณีไทลื้อลำปาง มีความทรงจำร่วมกันว่ามาจาก เมืองยอง แต่เหตุใดไม่เรียกตัวเองว่า คนยองก็เป็นสิ่งที่น่าคิดเช่นกัน
พระธาตุจอมยอง ศูนย์รวมจิตใจชาวยอง
[ที่มา : สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา,2544 หน้า193]
การเคลื่อนย้ายระลอกต่างๆเข้าสู่ดินแดนล้านนา
ระลอกแรกๆเข้ามาสมัยล้านนา มีการระบุว่า มีชาวไทลื้อเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่เชียงใหม่ บริเวณ ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด ในตั้งแต่ สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน[7] (พ.ศ.1945-1984)[8]
ระลอกที่สอง ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ราว พ.ศ.2348 พระเจ้ากาวิละได้นำกองทัพไปตีเมืองยองและหัวเมืองลื้อในสิบสองปันนา ในช่วงนั้นยังไม่ได้ฟื้นฟูตั้งเมืองลำพูนขึ้นมา หลังจากพาเจ้าเมืองประเทศราชดังกล่าวไปเฝ้ารัชกาลที่1 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าคำฝั้น อุปราชเมืองเชียงใหม่ และเจ้าศรีบุญมา อุปราชเมืองนครลำปาง ร่วมกับชาวไทลื้อเมืองยอง ไปฟื้นเมืองลำพูน[9] ครอบครัวชาวยองส่วนใหญ่จึงมุ่งไปลำพูน อีกส่วนได้เข้าสู่เมืองนครลำปาง[10]
ระลอกที่สาม ยุคลี้ภัยการเมืองคอมมิวนิสต์ เข้ามาในสมัยหลังๆเพื่อแสวงหาพื้นที่ทำกินที่เหมาะสม[11]
สู่เมืองนครลำปาง
ในช่วงเวลาที่ชาวไทลื้อเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นอยู่ที่เมืองนครลำปางนั้น ตรงกับสมัยพระเจ้าดวงทิพย์ เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง(พ.ศ.2337-2368) ซึ่งก็ให้อนุญาตอยู่ในเมืองระยะหนึ่ง ก่อนที่จะขอย้ายไปตั้งทำเลใหม่ในบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน มีคำบอกเล่าถึงบรรยากาศการเคลื่อนย้ายดังกล่าวจากผู้สูงอายุในทำนองว่า ครอบครัวมาจากเมืองยอง เมื่อมาถึงเชียงรายแล้วแยกกันมา 7 ครอบครัว มาพักอยู่ที่เมืองนครลำปาง โดยที่เจ้าหลวงทดลองใจดู โดยทิ้งเงินทองของมีค่าไว้ แต่ปรากฏว่าไม่มีใครแตะต้อง
ต่อมามีการถามความสมัครใจหมู่บ้านต่างๆ ในการรับชาวไทลื้อไปอยู่ด้วย แคว่น(ผู้นำหมู่บ้าน)ตำบลนาคต[12]ยินดีที่รับไปอยู่ด้วย แต่ระหว่างการเดินทางนั้นได้มาเจอหนองบัวใกล้ๆห้วยแม่ปุง ดูท่าทางมีอาหารการกินสมบูรณ์ สองฝั่งของลำห้วยมีป่ากล้วยขนาดใหญ่ขึ้นงอกงามจึงตัดสินใจตั้งบ้านเรือนที่นี่ เริ่มต้นจากบ้านกล้วยหลวง[13]
*เรียบเรียงจาก
ธิดารัตน์ ไชยยาสืบ, ชาวไทลื้อลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์. 2548.
บรรณานุกรม
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่,พระนคร : โรงพิมพ์สำนัก
ทำเนียบนายกรัฐมนตรี,2514.
ประชัน รักพงษ์ และคณะ,การศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดลำปาง,ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง วิทยาลัย
ครูลำปาง,2535.
สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา,กรุงเทพฯ : อมรินทร์.2544.
สุจิตต์ วงษ์เทศ,สุโขทัยมากจากไหน?,กรุงเทพฯ : มติชน,2548.
เชิงอรรถ
[1] ดูในเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2548 http://www.bangkokbiznews.com/2005/10/19/
[2]ดูในเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2548 http://www.thairath.co.th/thairath1/ 2548/politic/nov/12/shpol.php หรือดูใน เว็บไซต์ คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ http://www.statelessperson.com/show_state.php?id=1698&comm=det อ้างถึงใน หนังสือพิมพ์ มติชน รายวัน วันที่ 21 พฤศจิกายน 2548 หน้า 34
[3] สุจิตต์ วงษ์เทศ,สุโขทัยมากจากไหน?,กรุงเทพฯ : มติชน,2548,หน้า 10
[4] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,การศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดลำปาง,ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง วิทยาลัยครูลำปาง,2535, หน้า 5
[5] สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา,กรุงเทพฯ : อมรินทร์.2544, หน้า 187
[6] สรัสวดี อ๋องสกุล,อ้างแล้ว หน้า 194
[7] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 6
[8] ประชัน รักพงษ์ และคณะ อ้างถึงพระยาสามฝั่งแกน ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว น่าจะอยู่ในช่วงพ.ศ.1945-1984 สรัสวดี อ๋องสกุล,อ้างแล้ว หน้า 141
[9] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 11 อ้างใน คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่,พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี,2514,หน้า 115
[10] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 10
[11] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 6
[12] น่าจะเป็นบ้านนาคต ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
[13] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 10
ถิ่นฐานเดิมไทลื้อ
ในความเป็นจริงก่อนที่จะมีการแบ่งเขตแดนเป็นรัฐชาติตายตัว ซึ่งพึ่งกำหนดขึ้นใน100 กว่าปีมานี้เอง อาณาเขตบ้านเมืองเมื่อก่อนไม่ได้รวมศูนย์ แต่กลับร่วมกันอยู่อย่างหลวมๆ ย้ายศูนย์อำนาจไปเรื่อยๆ แล้วแต่ว่าบ้านเมืองในเข้มแข็งและแผ่อำนาจไปถึง ซึ่งล้วนเป็นเหล่าเครือญาติในภูมิภาคอุษาคเนย์ หรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถนับพื้นที่ร่วมกันตั้งแต่ตอนใต้ของจีนจนถึงคาบสมุทร และเหล่าหมู่เกาะอันดามัน อินโดนีเซีย ติมอร์ และบูรไนเสียด้วยซ้ำ[3]
การแต่งกายผู้หญิงชาวไทลื้อ
กลุ่มวัฒนธรรมไทลื้ออยู่บริเวณสิบสองปันนา ปัจจุบันอยู่ในเขตยูนนานประเทศจีน เป็นเมืองในหุบเขา และมี แม่น้ำโขง(ลื้อเรียกแม่น้ำของ น่าจะเหมือนลาวเรียก)ไหลผ่าน มีศูนย์กลางอยู่เมืองเชียงรุ่ง สมัยก่อนมีประมุขคือ พระเจ้าแผ่นดินในชื่อที่เราคุ้นเคย ซึ่งเรียกกันว่า เจ้าฟ้าแสนหวี[4]
ปัจจุบันชาวไทลื้อกระจายตัวอยู่ในดินแดนต่างๆดังนี้ สิบสองปันนา ในประเทศจีน,เมืองยอง ในประเทศพม่า,แคว้นพงสาลี ในประเทศลาว,เมืองบินห์ลู ในประเทศเวียดนาม
สายสัมพันธ์ ลื้อ-ยอง
คำว่า ชาวไทลื้อ กับชาวยอง ก็เป็นอีกเรื่องที่ควรจะทำความเข้าใจกัน จากการค้นคว้าเบื้องต้นพบว่า ชาวยอง มาจากชื่อ เมืองยอง ที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตประเทศพม่า และเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนล้านนา(ราวพุทธศตวรรษที่19)[5] ซึ่งในการสร้างบ้านแปงเมืองนั้นเป็นผลการขยายตัวจากเมืองเชียงรุ่ง และเมืองยองก็ได้รับวัฒนธรรมไทลื้อแบบเชียงรุ่งไปใช้ ถือเป็นความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่เมืองน้อง[6] ฉะนั้นชาวยอง จะเป็นคำจำกัดความที่แน่ชัดว่า เป็นคนที่มาจากเมืองยอง ส่วนชาวไทลื้อนั้นมิได้ระบุชัดเจน(แม้ว่าในกรณีไทลื้อลำปาง มีความทรงจำร่วมกันว่ามาจาก เมืองยอง แต่เหตุใดไม่เรียกตัวเองว่า คนยองก็เป็นสิ่งที่น่าคิดเช่นกัน
พระธาตุจอมยอง ศูนย์รวมจิตใจชาวยอง
[ที่มา : สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา,2544 หน้า193]
การเคลื่อนย้ายระลอกต่างๆเข้าสู่ดินแดนล้านนา
ระลอกแรกๆเข้ามาสมัยล้านนา มีการระบุว่า มีชาวไทลื้อเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่เชียงใหม่ บริเวณ ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด ในตั้งแต่ สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน[7] (พ.ศ.1945-1984)[8]
ระลอกที่สอง ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ราว พ.ศ.2348 พระเจ้ากาวิละได้นำกองทัพไปตีเมืองยองและหัวเมืองลื้อในสิบสองปันนา ในช่วงนั้นยังไม่ได้ฟื้นฟูตั้งเมืองลำพูนขึ้นมา หลังจากพาเจ้าเมืองประเทศราชดังกล่าวไปเฝ้ารัชกาลที่1 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าคำฝั้น อุปราชเมืองเชียงใหม่ และเจ้าศรีบุญมา อุปราชเมืองนครลำปาง ร่วมกับชาวไทลื้อเมืองยอง ไปฟื้นเมืองลำพูน[9] ครอบครัวชาวยองส่วนใหญ่จึงมุ่งไปลำพูน อีกส่วนได้เข้าสู่เมืองนครลำปาง[10]
ระลอกที่สาม ยุคลี้ภัยการเมืองคอมมิวนิสต์ เข้ามาในสมัยหลังๆเพื่อแสวงหาพื้นที่ทำกินที่เหมาะสม[11]
สู่เมืองนครลำปาง
ในช่วงเวลาที่ชาวไทลื้อเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นอยู่ที่เมืองนครลำปางนั้น ตรงกับสมัยพระเจ้าดวงทิพย์ เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง(พ.ศ.2337-2368) ซึ่งก็ให้อนุญาตอยู่ในเมืองระยะหนึ่ง ก่อนที่จะขอย้ายไปตั้งทำเลใหม่ในบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน มีคำบอกเล่าถึงบรรยากาศการเคลื่อนย้ายดังกล่าวจากผู้สูงอายุในทำนองว่า ครอบครัวมาจากเมืองยอง เมื่อมาถึงเชียงรายแล้วแยกกันมา 7 ครอบครัว มาพักอยู่ที่เมืองนครลำปาง โดยที่เจ้าหลวงทดลองใจดู โดยทิ้งเงินทองของมีค่าไว้ แต่ปรากฏว่าไม่มีใครแตะต้อง
ต่อมามีการถามความสมัครใจหมู่บ้านต่างๆ ในการรับชาวไทลื้อไปอยู่ด้วย แคว่น(ผู้นำหมู่บ้าน)ตำบลนาคต[12]ยินดีที่รับไปอยู่ด้วย แต่ระหว่างการเดินทางนั้นได้มาเจอหนองบัวใกล้ๆห้วยแม่ปุง ดูท่าทางมีอาหารการกินสมบูรณ์ สองฝั่งของลำห้วยมีป่ากล้วยขนาดใหญ่ขึ้นงอกงามจึงตัดสินใจตั้งบ้านเรือนที่นี่ เริ่มต้นจากบ้านกล้วยหลวง[13]
*เรียบเรียงจาก
ธิดารัตน์ ไชยยาสืบ, ชาวไทลื้อลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์. 2548.
บรรณานุกรม
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่,พระนคร : โรงพิมพ์สำนัก
ทำเนียบนายกรัฐมนตรี,2514.
ประชัน รักพงษ์ และคณะ,การศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดลำปาง,ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง วิทยาลัย
ครูลำปาง,2535.
สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา,กรุงเทพฯ : อมรินทร์.2544.
สุจิตต์ วงษ์เทศ,สุโขทัยมากจากไหน?,กรุงเทพฯ : มติชน,2548.
เชิงอรรถ
[1] ดูในเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2548 http://www.bangkokbiznews.com/2005/10/19/
[2]ดูในเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2548 http://www.thairath.co.th/thairath1/ 2548/politic/nov/12/shpol.php หรือดูใน เว็บไซต์ คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ http://www.statelessperson.com/show_state.php?id=1698&comm=det อ้างถึงใน หนังสือพิมพ์ มติชน รายวัน วันที่ 21 พฤศจิกายน 2548 หน้า 34
[3] สุจิตต์ วงษ์เทศ,สุโขทัยมากจากไหน?,กรุงเทพฯ : มติชน,2548,หน้า 10
[4] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,การศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดลำปาง,ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง วิทยาลัยครูลำปาง,2535, หน้า 5
[5] สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา,กรุงเทพฯ : อมรินทร์.2544, หน้า 187
[6] สรัสวดี อ๋องสกุล,อ้างแล้ว หน้า 194
[7] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 6
[8] ประชัน รักพงษ์ และคณะ อ้างถึงพระยาสามฝั่งแกน ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว น่าจะอยู่ในช่วงพ.ศ.1945-1984 สรัสวดี อ๋องสกุล,อ้างแล้ว หน้า 141
[9] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 11 อ้างใน คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่,พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี,2514,หน้า 115
[10] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 10
[11] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 6
[12] น่าจะเป็นบ้านนาคต ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
[13] ประชัน รักพงษ์ และคณะ,อ้างแล้ว หน้า 10
1 comment:
การจัดงานสืบสานตำนานไทลื้อโลก ที่อ.เชียงคำ จ.พะเยาในวันที่ 12-13 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการร่วมกันอย่างจริงจังในการสืบสานวัฒนธรรมของไทยลื้อให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วโลก ตามความเห็นของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าเห็นด้วยอย่างยิ่งในการจัดงานนี้ขึ้นมาและควรสืบสานให้เป็นประเพณีประจำทุกปีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนะธรรม แต่ด้วยสถานการณ์ที่ไม่แน่ไม่นอนในด้านใดทั้งสิ้นของสังคมการเมืองปัจจุบัน จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้หรือไม่ว่าเมื่อเกิดการรวมตัวกันขึ้นแล้ว ไทลื้อทั้งหลายอาจคิดสร้างบ้านแปงเมืองตนเองใหม่หรือสร้างเงื่อนไขใด ๆ ขึ้นมาเพื่อกลุ่ม เพราะโดยพื้นเพเดิมแล้วพวกเขาไม่ใช่คนในพื้นที่และไม่ได้มานครลำปางด้วยความเต็มใจแต่มาเพราะถูกบังคับกวดต้อนมาแต่ต้น
แสดงความเห็นโดย
นางสาวนิตยา สายเครือติ๊บ
เลขที่ 18 รหัส 530232049
สาขาการบริหารการศึกษา
Post a Comment