รถม้าจอดบริเวณงานรถไฟรถม้าลำปาง ณ สถานีรถไฟนครลำปาง
ที่มาภาพ : http://www.thainewsland.com/images/th/24244.jpg
รถม้าคราหนึ่ง
ตีพิมพ์ครั้งแรก ใน หนังสือพิมพ์ลำปางนิวส์ ฉบับที่ 197 วันที่ 4-10 สิงหาคม 2551 หน้า 7
หากพูดถึงลำปาง คนทั่วไปมักจะนึกถึง “รถม้า” สัญลักษณ์อันโดดเด่น ซึ่งมีเหลืออยู่เพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีรถม้ารับจ้างวิ่งไปตามท้องถนนให้บริการแก่ผู้คนและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน
ใครจะรู้หรือไม่ว่ากว่ารถม้าจะอยู่ยืนยาวคู่ลำปางมาถึงทุกวันนี้ ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานหลายครั้งหลายคราจนเกือบจะมีการยกเลิกกิจการไปแล้ว
ผมได้พบบันทึกของขุนอุทานคดี(ประยูร ขันธรักษ์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนายกสมาคมรถม้าลำปางคนแรกเล่าเรื่องนี้ให้ฟังว่า เมื่อรถไฟมาถึงลำปาง พ.ศ.2459 แขกชาวปากีสถานได้เอารถม้าจากกรุงเทพฯมารับจ้างรับส่งผู้โดยสารซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
แต่พวกแขกเหล่านี้ชอบวิวาทและก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้โดยสารเป็นประจำ โดยอ้างตัวว่าเป็นคนในบังคับอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลมากในสมัยนั้นและมักเกิดเหตุยุ่งยากอยู่เป็นประจำสร้างภาระหนักให้แก่ตำรวจและอำเภอจนต้องมีการปราบปราม ในที่สุดพวกแขกเหล่านี้ต้องขายรถม้าให้คนลำปางเอาไปรับจ้างจนหมดราวปี พ.ศ.2478 ทำให้คนลำปางได้เป็นผู้ขับรถม้ากันอย่างแพร่หลาย
อย่างไรก็ตามในช่วง ปี พ.ศ.2480-2483 ขณะที่ขุนอุทานคดี ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลำปาง ทางตำรวจมีแนวความคิดจะให้เลิกรถม้ารับจ้างโดยจะงดออกใบอนุญาตขับขี่ ตำรวจอ้างว่า ม้าขับถ่ายเรี่ยราด ทำให้ถนนสกปรกและคนขับรถม้ามีอิทธิพลสร้างความเกรงกลัวให้แก่คนขับสามล้อรับจ้าง
ทางราชการจึงต้องการสนับสนุนให้มีรถสามล้อขึ้นมาแทนเพื่อให้เห็นว่า ลำปางมีความทันสมัยมากขึ้นเพราะความคิดของตำรวจ เห็นว่ารถม้าดูล้าสมัยนั่นเอง
ขุนอุทานคดีในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองลำปางได้คัดค้านแนวความคิดนี้โดยเห็นว่า เรื่องการถ่ายมูลของสัตว์ไม่ใช่เฉพาะแต่ม้าแต่โคล้อก็ถ่ายเช่นกันและรถม้าก็ไม่ได้ซื้ออะไหล่มาจากต่างประเทศ ส่วนหน้าที่การรักษาความสะอาดตามท้องถนนเป็นของเทศบาลไม่ใช่เรื่องของตำรวจที่ต้องมาเดือดร้อน
อีกประการหนึ่งการเลิกกิจการรถม้าจะเป็นการตัดอาชีพของเจ้าของและคนรับจ้างขับรถม้าตลอดจนครอบครัวที่มีกว่าพันชีวิต รถม้าจะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ คนกลุ่มนี้ก็จะไม่มีงานทำและอาจจะออกไปประกอบอาชีพทางทุจริตซึ่งจะเป็นภาระหนักให้แก่ตำรวจ
การคัดค้านของขุนอุทานคดีส่งผลให้ในที่สุดตำรวจต้องยอมยุติความคิดดังกล่าว ต่อมาได้มีการตั้งสมาคมรถม้าลำปางขึ้น เพื่อสร้างความเป็นระเบียบให้แก่ผู้ขับรถม้ารับจ้าง
ขุนอุทานคดีได้เล่าอีกว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รถม้าเป็นประโยชน์แก่คนลำปางเป็นอันมาก ขณะนั้นน้ำมันหายากและเครื่องอะไหล่รถยนต์แพงมาก รถยนต์และรถสามล้อจึงไม่เป็นที่นิยมใช้ จึงทำให้คนขับรถม้ามีรายได้งาม ถึงขั้นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นขอให้ขุนอุทานคดีช่วยติดต่อซื้อรถม้าจากลำปางไปให้ทางกรุงเทพฯ แต่ไม่มีคนลำปางรายใดยอมขายให้
เมื่อสงครามโลกสงบราวปีพ.ศ.2485 รถม้าได้กลับมาเป็นสิ่งที่สร้างความบันเทิงเริงใจให้แก่คนลำปาง ที่มักชอบนั่งรถม้าชมเมืองหรือใช้เพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน เพราะมีราคาไม่แพงนัก เช่น จากสบตุ๋ยไปถึงในตัวเมืองค่าโดยสาร 1 สตางค์ ใครอยากรู้ว่าเงิน 1 สตางค์มีมูลค่าเท่าไหร่ ในสมัยนั้น 1 สตางค์ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 1 ชาม อาจจะเท่ากับ 20-25 บาทในปัจจุบันนี้
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2510 ทางราชการมีการกวดขันรถม้าและมีความพยายามจะยกเลิกอีกครั้งเพราะเห็นว่ารถม้าล้าสมัย ทำให้คนขับรถม้าต้องร้องทุกข์ไปยังรัฐบาลเพื่อขอให้สั่งระงับการบีบบังคับ บางครั้งพวกคนขับรถม้ารับจ้างซึ่งกำลังจะถูกตัดอาชีพก็แสดงปฏิกิริยาออกอย่างรุนแรง เช่น พากันก่อกวนให้รถยนต์ชนเพื่อเอาค่าเสียหายให้พอกับค่ารถม้า เป็นต้น
ขุนอุทานคดีได้เล่าทิ้งท้ายในเรื่องนี้ว่า บัดนี้รถม้ากลับเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติให้แก่ลำปาง แม้กระทั่งคนต่างจังหวัดและชาวต่างประเทศก็อยากเห็นและขึ้นรถม้า ในประเทศไทยมีรถม้าเหลือเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เชื่อว่า ในต่างประเทศก็คงหาได้ยากเช่นกัน
จากที่ขุนอุทานคดีเล่ามาทำให้ผมคิดว่า ในสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงสุดขีดขณะนี้ บางทีรถม้าหรือม้าอาจช่วยเป็นทางเลือกในการเดินทางให้กับคนลำปางอีกทางหนึ่ง เสียอย่างเดียวที่บัดนี้รถม้าได้กลายเป็นเพียงสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวที่มิใช่ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะดังเช่นอดีตอีกแล้ว
จริงๆแล้วเชื่อว่าคนลำปางจำนวนไม่น้อยคงอยากจะขึ้นรถม้ากัน แต่คงสู้ราคาไม่ไหว ก็ได้แต่ภาวนาว่า ... เมื่อไหร่หนอ “รถม้า” จะกลับมาเป็นพาหนะเดินทางในชีวิตประจำวันของคนลำปางอีกครา
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น
lakorforum@yahoo.com
.............................
เรื่องรถม้าลำปาง มีอยู่หลายสำนวนการเขียน สามารถอ่านเรื่องรถม้าเพิ่มเติมได้อีกที่
ที่มาภาพ : http://www.thainewsland.com/images/th/24244.jpg
รถม้าคราหนึ่ง
ตีพิมพ์ครั้งแรก ใน หนังสือพิมพ์ลำปางนิวส์ ฉบับที่ 197 วันที่ 4-10 สิงหาคม 2551 หน้า 7
หากพูดถึงลำปาง คนทั่วไปมักจะนึกถึง “รถม้า” สัญลักษณ์อันโดดเด่น ซึ่งมีเหลืออยู่เพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีรถม้ารับจ้างวิ่งไปตามท้องถนนให้บริการแก่ผู้คนและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน
ใครจะรู้หรือไม่ว่ากว่ารถม้าจะอยู่ยืนยาวคู่ลำปางมาถึงทุกวันนี้ ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานหลายครั้งหลายคราจนเกือบจะมีการยกเลิกกิจการไปแล้ว
ผมได้พบบันทึกของขุนอุทานคดี(ประยูร ขันธรักษ์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนายกสมาคมรถม้าลำปางคนแรกเล่าเรื่องนี้ให้ฟังว่า เมื่อรถไฟมาถึงลำปาง พ.ศ.2459 แขกชาวปากีสถานได้เอารถม้าจากกรุงเทพฯมารับจ้างรับส่งผู้โดยสารซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
แต่พวกแขกเหล่านี้ชอบวิวาทและก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้โดยสารเป็นประจำ โดยอ้างตัวว่าเป็นคนในบังคับอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลมากในสมัยนั้นและมักเกิดเหตุยุ่งยากอยู่เป็นประจำสร้างภาระหนักให้แก่ตำรวจและอำเภอจนต้องมีการปราบปราม ในที่สุดพวกแขกเหล่านี้ต้องขายรถม้าให้คนลำปางเอาไปรับจ้างจนหมดราวปี พ.ศ.2478 ทำให้คนลำปางได้เป็นผู้ขับรถม้ากันอย่างแพร่หลาย
อย่างไรก็ตามในช่วง ปี พ.ศ.2480-2483 ขณะที่ขุนอุทานคดี ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลำปาง ทางตำรวจมีแนวความคิดจะให้เลิกรถม้ารับจ้างโดยจะงดออกใบอนุญาตขับขี่ ตำรวจอ้างว่า ม้าขับถ่ายเรี่ยราด ทำให้ถนนสกปรกและคนขับรถม้ามีอิทธิพลสร้างความเกรงกลัวให้แก่คนขับสามล้อรับจ้าง
ทางราชการจึงต้องการสนับสนุนให้มีรถสามล้อขึ้นมาแทนเพื่อให้เห็นว่า ลำปางมีความทันสมัยมากขึ้นเพราะความคิดของตำรวจ เห็นว่ารถม้าดูล้าสมัยนั่นเอง
ขุนอุทานคดีในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองลำปางได้คัดค้านแนวความคิดนี้โดยเห็นว่า เรื่องการถ่ายมูลของสัตว์ไม่ใช่เฉพาะแต่ม้าแต่โคล้อก็ถ่ายเช่นกันและรถม้าก็ไม่ได้ซื้ออะไหล่มาจากต่างประเทศ ส่วนหน้าที่การรักษาความสะอาดตามท้องถนนเป็นของเทศบาลไม่ใช่เรื่องของตำรวจที่ต้องมาเดือดร้อน
อีกประการหนึ่งการเลิกกิจการรถม้าจะเป็นการตัดอาชีพของเจ้าของและคนรับจ้างขับรถม้าตลอดจนครอบครัวที่มีกว่าพันชีวิต รถม้าจะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ คนกลุ่มนี้ก็จะไม่มีงานทำและอาจจะออกไปประกอบอาชีพทางทุจริตซึ่งจะเป็นภาระหนักให้แก่ตำรวจ
การคัดค้านของขุนอุทานคดีส่งผลให้ในที่สุดตำรวจต้องยอมยุติความคิดดังกล่าว ต่อมาได้มีการตั้งสมาคมรถม้าลำปางขึ้น เพื่อสร้างความเป็นระเบียบให้แก่ผู้ขับรถม้ารับจ้าง
ขุนอุทานคดีได้เล่าอีกว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รถม้าเป็นประโยชน์แก่คนลำปางเป็นอันมาก ขณะนั้นน้ำมันหายากและเครื่องอะไหล่รถยนต์แพงมาก รถยนต์และรถสามล้อจึงไม่เป็นที่นิยมใช้ จึงทำให้คนขับรถม้ามีรายได้งาม ถึงขั้นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นขอให้ขุนอุทานคดีช่วยติดต่อซื้อรถม้าจากลำปางไปให้ทางกรุงเทพฯ แต่ไม่มีคนลำปางรายใดยอมขายให้
เมื่อสงครามโลกสงบราวปีพ.ศ.2485 รถม้าได้กลับมาเป็นสิ่งที่สร้างความบันเทิงเริงใจให้แก่คนลำปาง ที่มักชอบนั่งรถม้าชมเมืองหรือใช้เพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน เพราะมีราคาไม่แพงนัก เช่น จากสบตุ๋ยไปถึงในตัวเมืองค่าโดยสาร 1 สตางค์ ใครอยากรู้ว่าเงิน 1 สตางค์มีมูลค่าเท่าไหร่ ในสมัยนั้น 1 สตางค์ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 1 ชาม อาจจะเท่ากับ 20-25 บาทในปัจจุบันนี้
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2510 ทางราชการมีการกวดขันรถม้าและมีความพยายามจะยกเลิกอีกครั้งเพราะเห็นว่ารถม้าล้าสมัย ทำให้คนขับรถม้าต้องร้องทุกข์ไปยังรัฐบาลเพื่อขอให้สั่งระงับการบีบบังคับ บางครั้งพวกคนขับรถม้ารับจ้างซึ่งกำลังจะถูกตัดอาชีพก็แสดงปฏิกิริยาออกอย่างรุนแรง เช่น พากันก่อกวนให้รถยนต์ชนเพื่อเอาค่าเสียหายให้พอกับค่ารถม้า เป็นต้น
ขุนอุทานคดีได้เล่าทิ้งท้ายในเรื่องนี้ว่า บัดนี้รถม้ากลับเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติให้แก่ลำปาง แม้กระทั่งคนต่างจังหวัดและชาวต่างประเทศก็อยากเห็นและขึ้นรถม้า ในประเทศไทยมีรถม้าเหลือเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เชื่อว่า ในต่างประเทศก็คงหาได้ยากเช่นกัน
จากที่ขุนอุทานคดีเล่ามาทำให้ผมคิดว่า ในสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงสุดขีดขณะนี้ บางทีรถม้าหรือม้าอาจช่วยเป็นทางเลือกในการเดินทางให้กับคนลำปางอีกทางหนึ่ง เสียอย่างเดียวที่บัดนี้รถม้าได้กลายเป็นเพียงสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวที่มิใช่ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะดังเช่นอดีตอีกแล้ว
จริงๆแล้วเชื่อว่าคนลำปางจำนวนไม่น้อยคงอยากจะขึ้นรถม้ากัน แต่คงสู้ราคาไม่ไหว ก็ได้แต่ภาวนาว่า ... เมื่อไหร่หนอ “รถม้า” จะกลับมาเป็นพาหนะเดินทางในชีวิตประจำวันของคนลำปางอีกครา
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น
lakorforum@yahoo.com
.............................
เรื่องรถม้าลำปาง มีอยู่หลายสำนวนการเขียน สามารถอ่านเรื่องรถม้าเพิ่มเติมได้อีกที่
1. ภาพจากอดีต : รถม้าลำปาง
และเรื่องเล่ารถม้าลำปาง "เก็บตกจาก วารสารคนเมือง พ.ศ.2498"
(ข้อมูลมาจากวารสาร “ คนเมือง ” ฉบับพิเศษรายเดือนปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2498)
และเรื่องเล่ารถม้าลำปาง "เก็บตกจาก วารสารคนเมือง พ.ศ.2498"
(ข้อมูลมาจากวารสาร “ คนเมือง ” ฉบับพิเศษรายเดือนปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2498)
(ข้อมูลจากเว็บ รอบรู้เมืองลำปาง โดยผู้ใช้อีเมล์ว่า JHK113@hotmail.com)
3. "รถม้า"เสน่ห์เมืองลำปางที่ยังมีลมหายใจ
3. "รถม้า"เสน่ห์เมืองลำปางที่ยังมีลมหายใจ
(ข้อมูลจากเว็บล้านนาคอร์เนอร์ ซึ่ง อ้างอิงว่านำมาจากเว็บผู้จัดการอีกทีหนึ่ง )
4. ประวัติรถม้าลำปาง โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
4. ประวัติรถม้าลำปาง โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
(ข้อมูลจาก นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550[คนละสำนวนกับข้อ 3])
5. การท่องเที่ยวและความยั่งยืนของรถม้าลำปาง โดย สันติ บางอ้อ
(ข้อมูลจาก บทความของ สันติ บางอ้อ อธิการบดีมหาวิทยาลัยโยนก พฤศจิกายน 2550 )
6. รถม้าลำปาง
(ข้อมูลจาก เว็บ ไอเดียล้านนา )
7. ชมเมืองบนรถม้า แนะนำข้อมูลสำหรับการท่องเที่ยวด้วยรถม้าลำปาง
6. รถม้าลำปาง
(ข้อมูลจาก เว็บ ไอเดียล้านนา )
7. ชมเมืองบนรถม้า แนะนำข้อมูลสำหรับการท่องเที่ยวด้วยรถม้าลำปาง
(ข้อมูลจาก เว็บเที่ยวเมืองไทย)
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
เสาร์ 13
ธันวา 51
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
เสาร์ 13
ธันวา 51
1 comment:
hello, mis mejores deseos para tí... God Bless you.
Post a Comment