นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางหลายสมัย
ที่มาภาพ : http://www.minister.moi.go.th/photominister.html
“บุญเท่ง” ปู่สภา
ตีพิมพ์ครั้งแรก ใน หนังสือพิมพ์ลำปางนิวส์ ฉบับที่ 203 วันที่ 11-17 กันยายน 2551 หน้า 7
เมืองไทยยุคชดใช้กรรม มองไปทางไหนได้แต่ถอนหายใจเฮือกใหญ่ แม้ใครบางคนจะโกอินเตอร์ไปแล้วแต่เงาทะมึนยังคงอยู่ ไม่รู้ว่าบ้านเมืองจะไปทางไหนหรือไปฝาผีฝากไข้กับใครดี เห็นบรรดานักเลือกตั้งแล้ว ไม่ต้องบอกว่าพัดลมยังส่ายหน้าเลย
ผมได้แต่นึกถึงนักการเมืองรุ่นเก่าของลำปางคนหนึ่งที่น่าจะมีเกียรติพอจะมาบอกเล่าให้คนลำปางรู้ว่าท่านเป็นนักการเมืองตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย
นักการเมืองระดับชาติของบ้านเฮาในความเห็นของผมไม่มีใครโดดเด่นเท่ากับ “นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์” (พ.ศ.2455-2544) หรือบางคนเรียก “ปู่เท่ง” อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดลำปางนานถึง 18 สมัย ได้สมัครรับเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ.2480 จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต กลายเป็น “ปู่สภา” ในยุคนั้น
ปู่เท่งเป็นคนอำเภอเถิน หลังจากจบธรรมศาสตรบัณฑิตรุ่นแรกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองในสมัยนั้นได้ทำหน้าที่เป็นอัยการอยู่ 2 เดือน จึงเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองโดยสมัครเป็นผู้แทนราษฎรครั้งแรกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนในปีพ.ศ.2480 ขณะที่อายุ 24 ปี จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังสงครามยุติได้มาสมัครเป็นผู้แทนราษฎรที่จังหวัดลำปางในปี พ.ศ.2489 เรื่อยมาทุกสมัยไม่เคยสอบตก
ปู่เท่งเป็นนักการเมืองที่ผ่านงานการเมืองมาอย่างโชกโชนทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและประมุขในฝ่ายนิติบัญญัติคือ “ประธานสภาผู้แทนราษฏร”
แม้ว่าปู่เท่งจะดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองมากมาย แต่เกียรติของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้แทนประชาชน มิได้อยู่เพียงได้ชื่อว่าดำรงตำแหน่งนั้นตำแหน่งนี้ หากแต่อยู่ที่คุณค่าของผู้ทำหน้าที่นั้นมากกว่า พูดให้เข้าใจง่ายว่า “เป็นอะไรไม่สำคัญ เท่ากับว่าทำอะไรมากกว่า”
จริงๆแล้วขณะที่ปู่เท่งเป็นนักการเมืองในช่วงบั้นปลายของชีวิต ผมยังเรียนชั้นประถมอยู่เลยก็ได้แต่ทราบเรื่องราวของท่านผู้นี้จากผู้อาวุโสเล่าให้ฟัง ถ้าถามว่า ปู่เท่งเป็นแบบฉบับของนักการเมืองอย่างไร ผมคิดว่าว่า เราจะได้นักการเมืองที่ดีเลิศไปเสียทั้งหมดคงเป็นไปได้ยากและน่าจะฝันกลางวันมากกว่า แม้ว่าปู่เท่งอาจไม่ใช่หนึ่งในจำนวนนักการเมืองที่ดีเลิศอะไร แต่การทำหน้าที่ของปู่เท่ง ก็พอจะสะท้อนถึงความเป็นผู้แทนของคนลำปางได้
ผมขอถามเล่นๆว่า เราเคยเห็นนักการเมืองของภาคเหนือคนไหนพูดในสภาบ้าง เอาว่าพูดแบบพอมีสาระหรือมีคุณภาพนะครับ ก็ไม่อยากบอกว่าอาจมีแต่นึกไม่ออก แต่ในยุคสมัยของปู่เท่ง ท่านที่เป็นผู้อาวุโสอาจจำได้ว่า ปู่เท่งเป็นดาวสภาคนหนึ่งที่กล้าพูด กล้าเสนอความคิดเห็น แม้จะไม่หวือหวา มีลีลามากเหมือนที่เราเห็นหน้าจอทีวีก็ตาม
ปู่เท่ง เป็น ส.ส. ตามแบบของผู้ที่เข้าไปทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติที่ทำงานการเมืองในสภา ไม่ใช่ส.ส.แบบนักสังคมสงเคราะห์ประเภทเจ้าบุญทุ่มที่เราพบเห็นกันบ่อยๆในช่วงก่อนหรือฤดูเลือกตั้ง
ผมคิดว่าการเป็นส.ส.หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ เช่น ออกกฎหมายและควบคุมการทำงานของรัฐบาล เราต้องขีดเส้นให้ออกมาว่าบทบาทของส.ส. กับฝ่ายบริหารนั้นแตกต่างกัน แต่แน่นอนว่า ส.ส.หลายคนที่อยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องทำงานในทางบริหารพร้อมกันไปด้วย
อย่างไรก็ตาม คุณูปการของปู่เท่งที่มีต่อการเมืองไทย นั่นก็คือ การเป็นแบบอย่างในการทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงแทนพี่น้องประชาชน เมื่อรับรู้ปัญหาต่างๆ แล้วนำไปเสนอหรือพูดคุยกันในสภาเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยระบบของสภา แม้ว่าบางคราวต้องไปทำงานในฝ่ายบริหาร แต่ก็ไม่พบว่า ปู่เท่งได้พยายามใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางบริหารมาเอื้อประโยชน์ในทางการเมืองหรือการพัฒนาในพื้นที่ เหมือนกับ ส.ส.บางจังหวัดที่อาจใช้ชื่อ ส.ส.เป็นชื่อของจังหวัดนั้นได้เลย
การเป็น ส.ส. ต้องทำหน้าที่ให้สมบูรณ์เพราะเป็นงานอาสาเข้าไป ไม่มีใครบังคับให้เป็นและไม่ใช่เป็นเพื่อใช้เป็นทางผ่านไปสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างเดียว ส.ส.ต้องทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
ไม่ทำตัวเป็นลูกน้องรัฐบาล เหมือนกับ ส.ส.ของสภาบางยุคสมัยที่เข้าไปแล้ว แทบไม่เคยทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งไม่มีกฎหมายผ่านสภาเลยแม้แต่ฉบับเดียว เอาแต่กระเหื้ยนกระหือรือคิดจะแก้ปัญหาทางการเมืองเพื่อให้ใครบางคนพ้นคุกตารางเท่านั้น
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น
lakorforum@yahoo.com
.............................
ที่มาภาพ : http://www.minister.moi.go.th/photominister.html
“บุญเท่ง” ปู่สภา
ตีพิมพ์ครั้งแรก ใน หนังสือพิมพ์ลำปางนิวส์ ฉบับที่ 203 วันที่ 11-17 กันยายน 2551 หน้า 7
เมืองไทยยุคชดใช้กรรม มองไปทางไหนได้แต่ถอนหายใจเฮือกใหญ่ แม้ใครบางคนจะโกอินเตอร์ไปแล้วแต่เงาทะมึนยังคงอยู่ ไม่รู้ว่าบ้านเมืองจะไปทางไหนหรือไปฝาผีฝากไข้กับใครดี เห็นบรรดานักเลือกตั้งแล้ว ไม่ต้องบอกว่าพัดลมยังส่ายหน้าเลย
ผมได้แต่นึกถึงนักการเมืองรุ่นเก่าของลำปางคนหนึ่งที่น่าจะมีเกียรติพอจะมาบอกเล่าให้คนลำปางรู้ว่าท่านเป็นนักการเมืองตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย
นักการเมืองระดับชาติของบ้านเฮาในความเห็นของผมไม่มีใครโดดเด่นเท่ากับ “นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์” (พ.ศ.2455-2544) หรือบางคนเรียก “ปู่เท่ง” อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดลำปางนานถึง 18 สมัย ได้สมัครรับเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ.2480 จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต กลายเป็น “ปู่สภา” ในยุคนั้น
ปู่เท่งเป็นคนอำเภอเถิน หลังจากจบธรรมศาสตรบัณฑิตรุ่นแรกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองในสมัยนั้นได้ทำหน้าที่เป็นอัยการอยู่ 2 เดือน จึงเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองโดยสมัครเป็นผู้แทนราษฎรครั้งแรกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนในปีพ.ศ.2480 ขณะที่อายุ 24 ปี จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังสงครามยุติได้มาสมัครเป็นผู้แทนราษฎรที่จังหวัดลำปางในปี พ.ศ.2489 เรื่อยมาทุกสมัยไม่เคยสอบตก
ปู่เท่งเป็นนักการเมืองที่ผ่านงานการเมืองมาอย่างโชกโชนทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและประมุขในฝ่ายนิติบัญญัติคือ “ประธานสภาผู้แทนราษฏร”
แม้ว่าปู่เท่งจะดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองมากมาย แต่เกียรติของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้แทนประชาชน มิได้อยู่เพียงได้ชื่อว่าดำรงตำแหน่งนั้นตำแหน่งนี้ หากแต่อยู่ที่คุณค่าของผู้ทำหน้าที่นั้นมากกว่า พูดให้เข้าใจง่ายว่า “เป็นอะไรไม่สำคัญ เท่ากับว่าทำอะไรมากกว่า”
จริงๆแล้วขณะที่ปู่เท่งเป็นนักการเมืองในช่วงบั้นปลายของชีวิต ผมยังเรียนชั้นประถมอยู่เลยก็ได้แต่ทราบเรื่องราวของท่านผู้นี้จากผู้อาวุโสเล่าให้ฟัง ถ้าถามว่า ปู่เท่งเป็นแบบฉบับของนักการเมืองอย่างไร ผมคิดว่าว่า เราจะได้นักการเมืองที่ดีเลิศไปเสียทั้งหมดคงเป็นไปได้ยากและน่าจะฝันกลางวันมากกว่า แม้ว่าปู่เท่งอาจไม่ใช่หนึ่งในจำนวนนักการเมืองที่ดีเลิศอะไร แต่การทำหน้าที่ของปู่เท่ง ก็พอจะสะท้อนถึงความเป็นผู้แทนของคนลำปางได้
ผมขอถามเล่นๆว่า เราเคยเห็นนักการเมืองของภาคเหนือคนไหนพูดในสภาบ้าง เอาว่าพูดแบบพอมีสาระหรือมีคุณภาพนะครับ ก็ไม่อยากบอกว่าอาจมีแต่นึกไม่ออก แต่ในยุคสมัยของปู่เท่ง ท่านที่เป็นผู้อาวุโสอาจจำได้ว่า ปู่เท่งเป็นดาวสภาคนหนึ่งที่กล้าพูด กล้าเสนอความคิดเห็น แม้จะไม่หวือหวา มีลีลามากเหมือนที่เราเห็นหน้าจอทีวีก็ตาม
ปู่เท่ง เป็น ส.ส. ตามแบบของผู้ที่เข้าไปทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติที่ทำงานการเมืองในสภา ไม่ใช่ส.ส.แบบนักสังคมสงเคราะห์ประเภทเจ้าบุญทุ่มที่เราพบเห็นกันบ่อยๆในช่วงก่อนหรือฤดูเลือกตั้ง
ผมคิดว่าการเป็นส.ส.หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ เช่น ออกกฎหมายและควบคุมการทำงานของรัฐบาล เราต้องขีดเส้นให้ออกมาว่าบทบาทของส.ส. กับฝ่ายบริหารนั้นแตกต่างกัน แต่แน่นอนว่า ส.ส.หลายคนที่อยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องทำงานในทางบริหารพร้อมกันไปด้วย
อย่างไรก็ตาม คุณูปการของปู่เท่งที่มีต่อการเมืองไทย นั่นก็คือ การเป็นแบบอย่างในการทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงแทนพี่น้องประชาชน เมื่อรับรู้ปัญหาต่างๆ แล้วนำไปเสนอหรือพูดคุยกันในสภาเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยระบบของสภา แม้ว่าบางคราวต้องไปทำงานในฝ่ายบริหาร แต่ก็ไม่พบว่า ปู่เท่งได้พยายามใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางบริหารมาเอื้อประโยชน์ในทางการเมืองหรือการพัฒนาในพื้นที่ เหมือนกับ ส.ส.บางจังหวัดที่อาจใช้ชื่อ ส.ส.เป็นชื่อของจังหวัดนั้นได้เลย
การเป็น ส.ส. ต้องทำหน้าที่ให้สมบูรณ์เพราะเป็นงานอาสาเข้าไป ไม่มีใครบังคับให้เป็นและไม่ใช่เป็นเพื่อใช้เป็นทางผ่านไปสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างเดียว ส.ส.ต้องทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
ไม่ทำตัวเป็นลูกน้องรัฐบาล เหมือนกับ ส.ส.ของสภาบางยุคสมัยที่เข้าไปแล้ว แทบไม่เคยทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งไม่มีกฎหมายผ่านสภาเลยแม้แต่ฉบับเดียว เอาแต่กระเหื้ยนกระหือรือคิดจะแก้ปัญหาทางการเมืองเพื่อให้ใครบางคนพ้นคุกตารางเท่านั้น
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น
lakorforum@yahoo.com
.............................
ประวัติโดยย่อ
นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2455
ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.2542
อดีตผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ โดยการเอา พรรคก้าวหน้า นายควง อภัยวงศ์
มารวมกับพรรคประชาธิปไตยของ ดร.โชติ คุ้มพันธ์ แล้วให้ชื่อว่า พรรคประชาธิปัตย์ขึ้น
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยาวนานที่สุดในโลก
ได้รับฉายาจากนักสื่อมวลชนว่า เท่งเที่ยงถึง
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2455
ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.2542
อดีตผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ โดยการเอา พรรคก้าวหน้า นายควง อภัยวงศ์
มารวมกับพรรคประชาธิปไตยของ ดร.โชติ คุ้มพันธ์ แล้วให้ชื่อว่า พรรคประชาธิปัตย์ขึ้น
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยาวนานที่สุดในโลก
ได้รับฉายาจากนักสื่อมวลชนว่า เท่งเที่ยงถึง
1. บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
(ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
2. กลยุทธ์และแนวทางในการดำเนินงานทางการเมืองของนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ โดย ธวัช คำธิตา
(วิทยานิพนธ์ [รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง)] – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541)
3. หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์, 2542
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
เสาร์ 13
ธันวา 51
(ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
2. กลยุทธ์และแนวทางในการดำเนินงานทางการเมืองของนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ โดย ธวัช คำธิตา
(วิทยานิพนธ์ [รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง)] – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541)
3. หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์, 2542
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
เสาร์ 13
ธันวา 51
No comments:
Post a Comment