สะพานรัษฎาภิเศกเริ่มสร้างเมื่อปี 2458 ที่โกตา มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง
ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ พระนคร
เจ้าสัวแห่งลำปาง
ตีพิมพ์ครั้งแรก ใน หนังสือพิมพ์ลำปางนิวส์ ฉบับที่ 185 วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2551 หน้า 7
ผมตระเวนไปตามห้องสมุดของวัดสำคัญในลำปางเพื่อค้นหาเอกสารท้องถิ่นได้พบหนังสือดีๆหลายเล่ม หนึ่งในนั้นมีหนังสืออนุสรณ์งานศพของขุนอภิพัฒน์ภักดี (ตา เจริญยิ่ง, พ.ศ.2423-2506) หรือ “โกตา” บางคนเรียก “นายห้างตา” คหบดีใหญ่ของลำปางเมื่อกว่า 80 ปีมาแล้ว มีเรื่องราวน่าสนใจ ขอนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้
ในช่วงราวปี พ.ศ.2438 เมืองลำปางอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้สักและเป็นแหล่งสัมปทานป่าไม้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีบริษัททำป่าไม้ของอังกฤษ คนในบังคับอังกฤษ คนจีนและคนพื้นเมืองเข้าทำงานเกี่ยวข้องกับป่าไม้กันอย่างแพร่หลาย
โกตาเป็นลูกคนจีนเกิดที่ย่านตลาดจีนหรือ “กาดกองต้า” ที่รู้จักกัน เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นลูกจ้างของเถ้าแก่พัดย่วน ผู้รับสัมปทานทำป่าไม้ มีหน้าที่เก็บไม้ซุงที่กระจัดกระจายอยู่ตามลำน้ำวังอันเป็นเส้นทางการขนส่งไม้ไปยังภาคกลางในสมัยนั้น มีผู้กล่าวว่า มีไม้ซุงถึงกว่าหมื่นท่อนลอยล่องอยู่เต็มลำน้ำวังอันกว้างใหญ่
การเก็บไม้ซุงของโกตาจะใช้เรือสะล่ากาบแป้น ซึ่งเป็นเรือชนิดเล็กแล่นได้เร็ว เป็นพาหนะและมีช้างช่วยลำเลียงและคัดไม้ซุงไปรวมผูกกันเป็นแพใหญ่ เมื่อทำการผูกไม้ซุงรวมกันเป็นแพแล้ว ก็จะล่องลงไปตามลำน้ำวังจนถึงปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นตลาดใหญ่ซื้อขายไม้ซุง
โกตา ทำหน้าที่คุมแพไม้ซุงลงไปที่ปากน้ำโพอยู่เป็นประจำ เมื่อเถ้าแก่พัดย่วนขายไม้ได้แล้ว ก่อนกลับลำปางได้จ่ายเงินค่าจ้างให้ และโกตาได้นำเงินเหล่านั้นไปซื้อเสื้อผ้าและสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆจากตลาดบริเวณปากน้ำโพขึ้นเรือกลับมาขายที่ลำปางเพื่อให้ได้กำไรและไม่ให้เรือเสียเที่ยว ได้ทำเช่นนี้อยู่เป็นประจำนานวันเข้า สามารถรวบรวมเงินก้อนใหญ่จำนวนหนึ่ง ด้วยความขยันและรู้จักเก็บออมจึงค่อยๆสร้างฐานะขึ้นมา
ภายหลังการสัมปทานป่าไม้ของเถ้าแก่พัดย่วนสิ้นสุดอายุลง โกตาก็ยังคงขึ้นล่องขายสินค้าทางเรือระหว่างปากน้ำโพกับลำปาง จนสามารถตั้งตัวมีกิจการเป็นของตนเองชื่อ “บริษัทบุญเจริญ จำกัด” ได้พัฒนากิจการขึ้นมาทำการค้าส่งไม้โดยได้รับอนุญาตจากรัฐให้ทำการแปรรูปไม้กระยาเลย
ในปี พ.ศ.2458 เริ่มมีการสร้างสะพานรัษฎาภิเศก ทางราชการได้ซื้อไม้เต็งรังทุบเปลือกเพื่อมาทำเสาเข็มและตอหม้อ และไม้เต็งรังขนาดต่างๆเพื่อทำปั้นจั่นตอกเสาเข็ม รวมถึงไม้เบญจพรรณมาทำเสานั่งร้านและไม้รองพื้นรับคอนกรีตจากบริษัทของโกตา จนกิจการเจริญขึ้นก็หันไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอีกทางหนึ่ง
ปีเดียวกันนั้น กรมรถไฟหลวงแผ่นดินได้สร้างทางรถไฟสายเหนือมาถึงสถานีรถไฟผาคอ จังหวัดแพร่ นายช่างใหญ่ชาวเยอรมันได้มีหนังสือถึงเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ขอความช่วยเหลือในการหาบุคคลที่มีความสามารถมารับเหมาทำงานก่อสร้างทางรถไฟ
โกตาซึ่งมีความใกล้ชิดกับเจ้าผู้ครองนครลำปางจึงได้รับการสนับสนุนให้ไปติดต่องานดังกล่าว ปรากฏว่า ได้งานถมดิน งานขนหิน งานจัดหาไม้หมอนรถไฟ ตั้งแต่สถานีรถไฟผาคอไปจนถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่
และต่อมาได้งานรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่อีก เช่น งานสร้างสถานีรถไฟนครลำปาง บ้านพักเจ้าหน้าที่รถไฟ โรงเก็บรถจักร งานรับหากรรมการขุดเจาะถ้ำขุนตาล งานสร้างสะพานข้ามแม่น้ำทาที่ลำพูน งานสร้างสถานีรถไฟเชียงใหม่ และร่วมลงทุนกับคหบดีในเชียงใหม่รับเหมาก่อสร้างสะพานนวรัฐ เป็นต้น
ในระหว่างที่ทำงานให้กับกรมรถไฟหลวงแผ่นดินเป็นเวลาหลายปี โกตามีโอกาสถวายตัวเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะที่ทรงเป็นผู้บัญชาการรถไฟแผ่นดินหลวง ได้ตามเสด็จไปตรวจราชการก่อสร้างทางรถไฟในที่ต่างๆทั่วภาคเหนือ จนเป็นที่โปรดปรานพอพระราชหฤทัย
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2465 มีการขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่โกตาเป็น “ขุนอภิพัฒน์ภักดี” สังกัดกรมการพิเศษ มณฑลมหาราษฏร์ เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้นามสกุลขึ้นแล้วก็ได้นามสกุลพระราชทานว่า “เจริญยิ่ง” โกตาจึงเป็นต้นสกุลเจริญยิ่ง
จากงานรับเหมาก่อสร้างในกรมรถไฟหลวงแผ่นดิน ต่อมายังเข้ามาทำงานกับกรมทางหลวงแผ่นดินได้รับเหมางานก่อสร้างทางสายลำปาง-เชียงราย จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงราว พ.ศ.2488 ได้เข้ารับงานกับบริษัททำป่าไม้ของอังกฤษซึ่งได้กลับมาลำปางอีกครั้งหนึ่งหลังจากหนีภัยสงคราม เช่น บริษัทบอมเบย์เบอม่าได้ว่าจ้างให้โกตาทำการลากขนไม้สักโดยรถยนต์ ขณะนั้นรถยนต์ลากขนไม้หายาก แต่ก็สามารถหารถยนต์เก่ามาประติดประต่อลากขนไม้ให้จนเป็นผลสำเร็จ
โกตาเป็นผู้ไม่ยอมหยุดนิ่ง แม้เข้าสู่วัยชราล่วงเลยมาถึงอายุ 60 ปี ยังทำงานเก็บรวบรวมไม้ซุงในลำน้ำแม่ปิง แถบป่าแม่หาด จังหวัดลำพูน เพื่อลำเลียงส่งไปยังปากน้ำโพเหมือนชีวิตสมัยเป็นลูกจ้างเมื่อครั้งเป็นหนุ่ม ชีวิตของลูกคนจีนผู้ทระนง สร้างตัวขึ้นมาจนมั่งคั่งและได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ท่านขุน” สิ้นสุดลงเมื่ออายุ 83 ปี แต่ผลงานสิ่งก่อสร้างหลายแห่งยังคงปรากฏเป็นอนุสรณ์ฝากชื่อ “โกตา” หรือ “ขุนอภิพัฒน์ภักดี” เจ้าสัวแห่งลำปาง ไว้ตราบนานเท่านาน
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น
lakorforum@yahoo.com
.............................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
เสาร์ 13
ธันวา 51
ตีพิมพ์ครั้งแรก ใน หนังสือพิมพ์ลำปางนิวส์ ฉบับที่ 185 วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2551 หน้า 7
ผมตระเวนไปตามห้องสมุดของวัดสำคัญในลำปางเพื่อค้นหาเอกสารท้องถิ่นได้พบหนังสือดีๆหลายเล่ม หนึ่งในนั้นมีหนังสืออนุสรณ์งานศพของขุนอภิพัฒน์ภักดี (ตา เจริญยิ่ง, พ.ศ.2423-2506) หรือ “โกตา” บางคนเรียก “นายห้างตา” คหบดีใหญ่ของลำปางเมื่อกว่า 80 ปีมาแล้ว มีเรื่องราวน่าสนใจ ขอนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้
ในช่วงราวปี พ.ศ.2438 เมืองลำปางอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้สักและเป็นแหล่งสัมปทานป่าไม้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีบริษัททำป่าไม้ของอังกฤษ คนในบังคับอังกฤษ คนจีนและคนพื้นเมืองเข้าทำงานเกี่ยวข้องกับป่าไม้กันอย่างแพร่หลาย
โกตาเป็นลูกคนจีนเกิดที่ย่านตลาดจีนหรือ “กาดกองต้า” ที่รู้จักกัน เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นลูกจ้างของเถ้าแก่พัดย่วน ผู้รับสัมปทานทำป่าไม้ มีหน้าที่เก็บไม้ซุงที่กระจัดกระจายอยู่ตามลำน้ำวังอันเป็นเส้นทางการขนส่งไม้ไปยังภาคกลางในสมัยนั้น มีผู้กล่าวว่า มีไม้ซุงถึงกว่าหมื่นท่อนลอยล่องอยู่เต็มลำน้ำวังอันกว้างใหญ่
การเก็บไม้ซุงของโกตาจะใช้เรือสะล่ากาบแป้น ซึ่งเป็นเรือชนิดเล็กแล่นได้เร็ว เป็นพาหนะและมีช้างช่วยลำเลียงและคัดไม้ซุงไปรวมผูกกันเป็นแพใหญ่ เมื่อทำการผูกไม้ซุงรวมกันเป็นแพแล้ว ก็จะล่องลงไปตามลำน้ำวังจนถึงปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นตลาดใหญ่ซื้อขายไม้ซุง
โกตา ทำหน้าที่คุมแพไม้ซุงลงไปที่ปากน้ำโพอยู่เป็นประจำ เมื่อเถ้าแก่พัดย่วนขายไม้ได้แล้ว ก่อนกลับลำปางได้จ่ายเงินค่าจ้างให้ และโกตาได้นำเงินเหล่านั้นไปซื้อเสื้อผ้าและสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆจากตลาดบริเวณปากน้ำโพขึ้นเรือกลับมาขายที่ลำปางเพื่อให้ได้กำไรและไม่ให้เรือเสียเที่ยว ได้ทำเช่นนี้อยู่เป็นประจำนานวันเข้า สามารถรวบรวมเงินก้อนใหญ่จำนวนหนึ่ง ด้วยความขยันและรู้จักเก็บออมจึงค่อยๆสร้างฐานะขึ้นมา
ภายหลังการสัมปทานป่าไม้ของเถ้าแก่พัดย่วนสิ้นสุดอายุลง โกตาก็ยังคงขึ้นล่องขายสินค้าทางเรือระหว่างปากน้ำโพกับลำปาง จนสามารถตั้งตัวมีกิจการเป็นของตนเองชื่อ “บริษัทบุญเจริญ จำกัด” ได้พัฒนากิจการขึ้นมาทำการค้าส่งไม้โดยได้รับอนุญาตจากรัฐให้ทำการแปรรูปไม้กระยาเลย
ในปี พ.ศ.2458 เริ่มมีการสร้างสะพานรัษฎาภิเศก ทางราชการได้ซื้อไม้เต็งรังทุบเปลือกเพื่อมาทำเสาเข็มและตอหม้อ และไม้เต็งรังขนาดต่างๆเพื่อทำปั้นจั่นตอกเสาเข็ม รวมถึงไม้เบญจพรรณมาทำเสานั่งร้านและไม้รองพื้นรับคอนกรีตจากบริษัทของโกตา จนกิจการเจริญขึ้นก็หันไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอีกทางหนึ่ง
ปีเดียวกันนั้น กรมรถไฟหลวงแผ่นดินได้สร้างทางรถไฟสายเหนือมาถึงสถานีรถไฟผาคอ จังหวัดแพร่ นายช่างใหญ่ชาวเยอรมันได้มีหนังสือถึงเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ขอความช่วยเหลือในการหาบุคคลที่มีความสามารถมารับเหมาทำงานก่อสร้างทางรถไฟ
โกตาซึ่งมีความใกล้ชิดกับเจ้าผู้ครองนครลำปางจึงได้รับการสนับสนุนให้ไปติดต่องานดังกล่าว ปรากฏว่า ได้งานถมดิน งานขนหิน งานจัดหาไม้หมอนรถไฟ ตั้งแต่สถานีรถไฟผาคอไปจนถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่
และต่อมาได้งานรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่อีก เช่น งานสร้างสถานีรถไฟนครลำปาง บ้านพักเจ้าหน้าที่รถไฟ โรงเก็บรถจักร งานรับหากรรมการขุดเจาะถ้ำขุนตาล งานสร้างสะพานข้ามแม่น้ำทาที่ลำพูน งานสร้างสถานีรถไฟเชียงใหม่ และร่วมลงทุนกับคหบดีในเชียงใหม่รับเหมาก่อสร้างสะพานนวรัฐ เป็นต้น
ในระหว่างที่ทำงานให้กับกรมรถไฟหลวงแผ่นดินเป็นเวลาหลายปี โกตามีโอกาสถวายตัวเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะที่ทรงเป็นผู้บัญชาการรถไฟแผ่นดินหลวง ได้ตามเสด็จไปตรวจราชการก่อสร้างทางรถไฟในที่ต่างๆทั่วภาคเหนือ จนเป็นที่โปรดปรานพอพระราชหฤทัย
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2465 มีการขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่โกตาเป็น “ขุนอภิพัฒน์ภักดี” สังกัดกรมการพิเศษ มณฑลมหาราษฏร์ เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้นามสกุลขึ้นแล้วก็ได้นามสกุลพระราชทานว่า “เจริญยิ่ง” โกตาจึงเป็นต้นสกุลเจริญยิ่ง
จากงานรับเหมาก่อสร้างในกรมรถไฟหลวงแผ่นดิน ต่อมายังเข้ามาทำงานกับกรมทางหลวงแผ่นดินได้รับเหมางานก่อสร้างทางสายลำปาง-เชียงราย จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงราว พ.ศ.2488 ได้เข้ารับงานกับบริษัททำป่าไม้ของอังกฤษซึ่งได้กลับมาลำปางอีกครั้งหนึ่งหลังจากหนีภัยสงคราม เช่น บริษัทบอมเบย์เบอม่าได้ว่าจ้างให้โกตาทำการลากขนไม้สักโดยรถยนต์ ขณะนั้นรถยนต์ลากขนไม้หายาก แต่ก็สามารถหารถยนต์เก่ามาประติดประต่อลากขนไม้ให้จนเป็นผลสำเร็จ
โกตาเป็นผู้ไม่ยอมหยุดนิ่ง แม้เข้าสู่วัยชราล่วงเลยมาถึงอายุ 60 ปี ยังทำงานเก็บรวบรวมไม้ซุงในลำน้ำแม่ปิง แถบป่าแม่หาด จังหวัดลำพูน เพื่อลำเลียงส่งไปยังปากน้ำโพเหมือนชีวิตสมัยเป็นลูกจ้างเมื่อครั้งเป็นหนุ่ม ชีวิตของลูกคนจีนผู้ทระนง สร้างตัวขึ้นมาจนมั่งคั่งและได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ท่านขุน” สิ้นสุดลงเมื่ออายุ 83 ปี แต่ผลงานสิ่งก่อสร้างหลายแห่งยังคงปรากฏเป็นอนุสรณ์ฝากชื่อ “โกตา” หรือ “ขุนอภิพัฒน์ภักดี” เจ้าสัวแห่งลำปาง ไว้ตราบนานเท่านาน
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น
lakorforum@yahoo.com
.............................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
เสาร์ 13
ธันวา 51
No comments:
Post a Comment